background

คุ้มเจ้าบุรีรัตน์ (เแก้วมุงเมือง) โรงงานยาสูบ กระทรวงการคลัง

ตําบลศรีภูมิ อําเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

ประวัติความเป็นมา

คุ้มเจ้าบุรีรัตน์ (เแก้วมุงเมือง) สร้างในปี พ.ศ.2461 โดยเจ้าแก้วมุงเมือง ณ เชียงใหม่ ในขณะ นั้นดํารงตําแหน่ง “เจ้าบุรีรัตน์” สมัยเจ้าหลวงอินทวโรรสสุริยวงษ์ (พ.ศ.2402-2453) คุ้มสร้างเป็น เรือนขนมปังขิงครึ่งปูนครึ่งไม้แบบตะวันตก ในช่วงสงครามโลกคร้ังท่ี 2 ระหว่างปี พ.ศ.2485 – 2487 ทหารญี่ปุ่นเข้าเมืองเชียงใหม่และได้ใช้โรงเรียนยุพราชเป็นท่ีทําการ เพื่อความปลอดภัยของบุตรธิดา เจ้าหญิงเรณุวรรณาจึงได้ย้ายไปอยู่ท่ีบ้านพักชั่วคราวที่บ้านท่ากระดาษ อาคารคุ้มเจ้าบุรีรัตน์ (แก้วมุง เมือง) จึงถูกทิ้งร้างอยู่ระยะหน่ึง จนกระท่ังสงครามสงบลงจึงได้ย้ายเข้ามาพํานักในอาคารคุ้มตามเดิม โดยจะอาศัยอยู่เฉพาะชั้นล่างของอาคารคุ้มต่อมาปี พ.ศ. 2490 เจ้าหญิงเรณุวรรณา ณ เชียงใหม่ มีความประสงค์จะขายอาคารคุ้มเจ้าบุรีรัตน์ โดยมอบหมายให้เจ้าอุบลรัตน์ อินทราวุฒิ (ณ เชียงใหม่) ธิดาคนที่ 1 นําโฉนดไปให้เจ้าสมบูรณ์ ณ เชียงใหม่ ไปเสนอขายแก่ห้างหุ้นส่วนอนุสารเชียงใหม่ ใน

ราคา 450,000 บาท แต่ไม่มีการตกลงซื้อขาย ระหว่างนั้น พ.ศ. 2490 – 2495 เจ้าเรณุวรรณา ณ เชียงใหม่ จึงให้สํานักงานยาสูบเชียงใหม่เช่าอาคารคุ้มเจ้าบุรีรัตน์และที่ดินบางส่วนเป็นรายเดือน

โดยท่านได้สร้างบ้านพักในบริเวณด้านหลังของคุ้มเป็นที่พํานัก เมื่อเจ้าหญิงเรณุวรรณา ณ เชียงใหม่ วายชนม์เม่ือวันท่ี 13 มกราคม 2493 ได้โอนมรดกกรรมสิทธิ์อาคารให้เจ้าวัฒนา โชตนา (ณ เชียงใหม่) ธิดาคนที่ 2 ในฐานะผู้จัดการมรดก เจ้าวัฒนา โชตนาได้ฝากขายอาคารคุ้มเจ้าบุรีรัตน์ให้กับ นางลัดดา ศรชัย ซึ่งเป็นธิดาของนางกี ลิ้มตระกูล คหบดีและผู้บ่มยาสูบ กระทั่ง ปี พ.ศ. 2496 กระทรวงการคลังได้ซื้อที่ดินและอาคารคุ้มเจ้าบุรีรัตน์ (แก้วมุงเมือง) จากเจ้าวัฒนา โชตนา ในวันท่ี 15 มกราคม 2496 จํานวนเงิน 620,000 เพื่อให้โรงงานยาสูบจัดตั้งสํานักงานยาสูบเชียงใหม่ โดยใช้ อาคารคุ้มเจ้าบุรีรัตน์เป็นที่ทําการสํานักงานต้ังแต่นั้นมาจนถึงวันที่ 19 มกราคม 2541 เป็นเวลาถึง 45 ปี จึงได้ย้ายออกจากคุ้มเข้าอาคารใหม่ในบริเวณเดียวกัน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 โรงงานยาสูบ กระทรวงการคลังได้ปรับปรุงอาคารให้เป็นพิพิธพันธ์ยาสูบเชียงใหม่

ลักษณะทางสถาปัตยกรรมและศลิปกรรม

เรือนขนมปังขิงครึ่งปูนครงึ่ไม้อาคารแบบตะวันตกชั้นล่างเสาก่ออิฐหนาฉาบปูน เรียบ ช้ันบนเป็นไม้มีระเบียงโดยรอบ หน้าต่างบานคู่ ไม้กลางบานเป็นบานเกร็ดไม้แบบบานกระทุ้ง เหนือบานหน้าต่างและประตูช้ันบนเป็นช่องลมไม้ฉลุลาย และตกแต่งหน้าจั่วแบบปั้นหยา


แกลเลอรี่ภาพ