background

ประตูหัวเวียง หรือประตูช้างเผือก

ตําบลศรีภูมิ อําเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

ประวัติความเป็นมา

ประตูหัวเวียง หรือประตูช้างเผือก ตั้งอยู่ด้านทิศเหนือของกําแพงเมืองเชียงใหม่ สร้างขึ้น ในปี พ.ศ.1839 โดยพญามังรายปฐมกษัตริย์ราชวงศ์มัง ราย กําแพงรูปสี่เหลี่ยม ส่วนประตูเมืองทําเป็นรูป เสมาไว้บนกําแพงทั้งสี่ด้านด้านและประตูเมืองอกี ท้ัง ห้าแห่ง เดิมประตูเมืองมีทั้งชั้นในและชั้นนอกสองชั้นประตูวางเยื้องกันเพื่อป้องกันข้าศึก
คําว่า “ประตูช้างเผือก” นิยมเรียกกันในสมัยหลังพุทธศตวรรษที่ 23 เนื่องจาก พระยา กาวิละได้บูรณะกําแพงเมืองและสร้างอนุสาวรีย์ ช้างเผือกไว้ด้านทิศเหนือของเมืองเชียงใหม่ พ.ศ.
2343 ประตูหัวเวียงถือเป็นประตูมงคลประจําเมืองเชียงใหม่ ตามจารีตประเพณีโบราณ กษัตริย์เชียงใหม่นับตั้งแต่สมัยพญามังรายเป็นต้นมา จะเสด็จผ่านประตูหัวเวียงด้านทิศเหนือเพื่อไปประกอบ พิธีราชาภิเษกได้ให้ “ลัวะจูงหมานําหน้าเจ้า”เพื่อเข้าไปในเมืองเชียงใหม่ ปรากฏใน ตํานานนพบุรี เมืองพิงค์เชียงใหม่ กล่าวเอาไว้ว่า หลังจากพญามังราย (พ.ศ. 1804-1854) สร้างเมืองเวียงเชียงใหม่ แล้ว เมื่อจะเสด็จเข้าเมืองได้สอบถามสรีขุนจุกนางชาวลัวะถึงประตูเข้าเมืองท่ีเป็นมงคล ซึ่งขุนสรีจุก ได้สอบถามจากหัวหน้าชาวลัวะ ทราบว่าต้องเข้าประตูหัวเวียงหรือประตูช้างเผือก โดยจะให้ลัวะจูง หมานําขบวนเสด็จเข้าเมือง ดังมีข้อความว่า

“…แล้วเถิงเวลายามแตรจักใกล้เท่ียง ท้าวก็ยกเอาหมู่ยสบริวาร บริวารเข้าเวียงหลวง ด้วยประตูช้างเผือกหนเหนือ ห้ือลัวะจูง หมาพาแชกเข้าก่อน ไปสถิตสําราญนอนเชียงขวางหน้าวัดเชียงหมั้น ได้คืนหนึ่ง…”

การให้ลัวะมาประกอบพิธีกรรมราชาภิเษกน้ียังปรากฏในจารีตเมืองเชียงตุงอีกแห่งหนึ่ง ซึ่ง เมืองแห่งนี้เป็นลูกบ้านหางเมืองของเชียงใหม่มาตั้งแต่สมัยพญามังราย “พิธีขึ้นหอเจ้าฟ้าเมืองเชียง ตุง” จะให้ชาวลัวะขึ้นหอคําก่อนแล้วมีคนมาไล่ลัวะลงไปแล้วเจ้าฟ้าผู้ครองนครจะขึ้นนั่งบัลลังก์ ทั้ง สมัยพระยากาวิละ (พ.ศ. 2325 – 2356) เข้าครองเมืองเชียงใหม่ ได้ให้ลัวะจูงหมาพาแจก (ภาชนะ สานรูปสอบสําหรับใส่สิ่งของใช้ห้อยหลังแบกไป) เข้าไปนอนเชียงขวางหน้าวัดเชียงหมั้น จากนั้นจึง ค่อยเสด็จไปยังคุ้มน้อยที่ประทับของพระองค์ พิธีดังกล่าวจึงเป็นจารีตปฏิบัติสืบทอดกันต่อมา ใน ปัจจุบันประตูหัวเวียง หรือประตูช้างเผือกยังคงความสําคัญในฐานะเป็นประตูมงคลประจําเมืองทั้งใน ความเชื่อและพิธีกรรมสําคัญของเมืองเชียงใหม่ เช่น การทําบุญและสืบชะตาเมืองเชียงใหม่ การ อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุองค์สําคัญเข้าสู่เมืองเชียงใหม่ ฯลฯ

ลักษณะทางสถาปัตยกรรมและศิลปกรรม

กําแพงก่ออิฐถือปูนทําเป็นประตูและแนเปราการเมือง มีทางเข้า – ออก ด้านทิศ เหนือของเมืองเชียงใหม่


แกลเลอรี่ภาพ