background

อนุสาวรีย์ช้างเผือก

ตําบลช้างเผือก อําเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

ประวัติความเป็นมา

อนุสาวรีย์ช้างเผือก ในตํานานพื้นเมืองเชียงใหม่มีข้อความระบุว่า ในปี พ.ศ. 1943 พญาแสนเมืองมา กษัตริย์ลําดับท่ี 9 แห่งราชวงศ์มังราย ได้สร้างช้างเผือกเพื่อรําลึกถึงคุณงามความดี ของมหาดเล็กชื่ออ้ายออบ และอ้ายยี่ระ ซึ่งได้ช่วยเหลือพญาแสนเมืองมาจากการการโจมตีของ กองทัพสุโขทัย ปูนบําเหน็จให้เป็นมหาดเล็กตําแหน่งขุนช้างซ้ายขุนช้างขวา มหาดเล็กท้ังสองอาศัยอยู่ บริเวณบ้านเชียงโฉมด้านทิศตะวันออก พญาแสนเมืองมาจึงได้สร้างรูปช้างเผือกไว้ด้านซ้าย – ขวา115 (ถนนเข้าประตูช้างเผือก)

ต่อมาในปี พ.ศ.2343 พระยาเจ้ากาวิละ เจ้าเมืองเชียงใหม่ ได้สร้างรูปปั้นช้างเผือก 2 เชือก มีขนาดโตใกล้เคียงกับช้างตัวจริง และทําซุ้มโค้งคลุมช้างเอาไว้ให้มองเข้าไปทางด้านหัวช้าง มีกําแพง ล้อมรอบบริเวณทั้ง 4 ทิศ และมีประตูเข้าออกได้ ทาด้วยสีขาวทั้งตัวช้างและกําแพง ช้างเชือกที่หัน หน้าไปทางทิศตะวันออกชื่อ “ปราบจักรวาล” และช้างเชือกท่ีหันหน้าไปทาง ทิศเหนือชื่อ “ปราบ เมืองมาร” เมื่อวันเสาร์ขึ้น 11 ค่า เดือน 7 พ.ศ. 2343116 ไว้ทางนอกประตูหัวเวียง มีข้อความว่า

“…พระเปนเจ้าทัง 3 พระองค์พี่น้องพร้อมกันใส่ชื่อเมืองแถมใหม่ หื้อเปน ชัยชนะ แก่ข้าศึกสัตรูว่า เมืองรัตตนติงสาอภินวปุรี แล้วเถิงเดือน 7 ออก 11 ฅ่ำ วัน 7 ได้ก่อรูปช้างเผือก สองตัวไว้ทางหัวเวียง ตัวเบ่นหน้าไปหนเหนือชื่อปราบจักรวาฬ ตัวเบ่นหน้าไปวันตกชื่อปราบ เมืองมารยักข์ แล้วค็ก่อรูปกุมภัณฑ์สองตนไว้หน้า วัดโชติการาม แลก่อรูปสุเทวพระรสีใกล้วันตกแห่ง อินทขีล ในสักราชเดียวน้ันแล…”

อนุสาวรีย์ช้างเผือก 2 เชือกนี้ เป็นเหตุให้ผู้คนนิยมเรียกช่ือประตูเมืองเชียงใหม่ ด้าน ทิศเหนือเดิมชื่อ ประตูหัวเวียง เปลี่ยนชื่อเรียกเป็น ประตูช้างเผือก ตามชื่อของอนุสาวรีย์ช้างเผือก จนถึงปัจจุบัน ระหว่างเดือนพฤษภาคม – เดือนมิถุนายน ของทุกปี ชาวเชียงใหม่จะมีประเพณีบูชา อนุสาวรีย์ ช้างเผือก ชาวบ้านที่อยู่บริเวณน้ันจะร่วมกันต้ังเครื่องสังเวยพระยาช้างเผือกทั้ง 2 เชือก

ลักษณะทางสถาปัตยกรรมและ ศิลปกรรม

อาคารซุ้มโค้งขนาดเล็ก จํานวน 2 หลัง วางผังอาคารทิศเหนือ – ใต้ ภายในเป็นช้างปูนปั้นครึ่ง ตัวในท่ายืนติดกับผนังอาคาร ตัวที่หนึ่งหันหน้าไปทางทิศเหนือ ตัวที่สองหันหน้าไปทางทิศตะวันตก


แกลเลอรี่ภาพ