background

อาคารหอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ (ศาลากลางเดิม)

ตําบลศรีภูมิ อําเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

ประวัติความเป็นมา

อาคารหอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ในปัจจุบัน เดิมเป็นอาคารเก่าของศาลา รัฐบาลมณฑลพายัพ ซึ่งมีประวัติความเป็นมาว่า พื้นที่บริเวณกลางเวียงแห่งนี้เคยเป็นที่ตั้งหอคํา และ เป็นมรดกตกทอดมาจนถึงพระราชชายาเจ้าดารารัศมี ต่อมาเมื่อทางกรุงเทพฯส่งข้าหลวงมาจัดการ ปฏิรูปการปกครองตามระบบเทศาภิบาล เจ้าดารารัศมีได้ยกที่ดินคุ้มกลางเวียงนี้เพื่อสร้างเป็น “ศาลารัฐบาลมณฑลพายัพ” ใน พ.ศ. 2443 และสร้างขึ้นเป็นอาคารศิลปะแบบตะวันตกใน พ.ศ.

2467 ต่อมาได้เปลี่ยนให้เป็น “ศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่” ภายหลังเมื่อมีนโยบายย้ายศูนย์ราชการ

ออกไปตั้งอยู่นอกเมืองเชียงใหม่ ดังนั้นศาลากลางจังหวัด(หลังเก่า)แห่งนี้ จึงถูกปรับปรุงเป็น

“หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่” ตั้งแต่ พ.ศ. 2539 เป็นต้นมา เพื่อเปิดบริการสําหรับประชาชน ในฐานะพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ประจําเมืองเชียงใหม่ อยู่ในความรับผิดชอบของเทศบาลนครเชียงใหม่

ได้รับรางวัลอาคารอนุรักษ์ดีเด่น ประจําปี พ.ศ. 2542 จากสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ และเมื่อ พ.ศ. 2549 ได้รับรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย ประเภท แหล่ง ท่องเที่ยวศิลปวัฒนธรรม อาคารศาลารัฐบาลมณฑลพายัพ มีลักษณะเป็นสถาปัตยกรรมที่โดดเด่น งดงามตั้งอยู่ในพื้นที่กลางเวียงเชียงใหม่ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนสองชั้น หลังคาทรงปั้นหยา

สถาปัตยกรรมตะวันตกแบบนีโอคลาสสิก(Neo-Classicism) ภายนอกอาคารด้านหน้าปรากฏเสา แบบดอริก(Doricorder)และมีโครงสร้างแบบวงโค้ง(Arch) ผนังอาคารฉาบปูนและประดับปูนปั้นที่ เรียบง่าย สวยงาม ภายในมีโถงกว้างที่ล้อมรอบด้วยตัวอาคาร

ปัจจุบันภายในอาคารหอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ มีการจัดแสดงนิทรรศการ เก่ียวกับประวัติความเป็นมาของเมืองเชียงใหม่ และวิถีชีวิตวัฒนธรรมท้องถิ่น ซึ่งมีนิทรรศการถาวร 15 ห้อง จัดแบ่งตามเนื้อหาสาระ นับตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ยุคสร้างบ้านสร้างเมือง ล่วงเลย ผ่านวันเวลาอันรุ่งเรืองและเสื่อมถอย เปลี่ยนแปลงจวบจนเป็นเมืองเชียงใหม่ในปัจจุบัน นอกจากน้ี ยังมีห้องมีการจัดแสดงกิจกรรมทางวัฒนธรรม นิทรรศการหมุนเวียน ห้องสารสนเทศ ห้อง ภัณฑารักษ์ และห้องจําหน่ายของที่ระลึกอีกด้วย

ลักษณะทางสถาปัตยกรรมและศลิปกรรม

อาคารก่ออิฐถือปูนสองชั้นหลังคาทรงปั้นหยาสถาปัตยกรรมตะวันตกแบบนีโอ คลาสสิก (Neo-Classicism) ภายนอกอาคารด้านหน้าปรากฏเสาแบบดอริก (Doric order) และมี โครงสร้างแบบวงโค้ง(Arch) ผนังอาคารฉาบปูนและประดับปูนปั้นที่เรียบง่าย สวยงาม ภายในมีโถง กว้างท่ีล้อมรอบด้วยตัวอาคาร


แกลเลอรี่ภาพ