
แจ่งศรีภูมิ และหออารักษ์
ตําบลศรีภูมิ อําเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
แจ่งศรีภูมิเดิมเคยเป็นตําแหน่งที่ตั้งไม้ศรีเมืองเชียงใหม่ ด้านทิศ ตะวันออกเฉียงเหนือของกําแพงเมืองเชียงใหม่ ในตํานานพื้นเมืองเชียงใหม่ได้มีบันทึกไว้ว่าในสมัย พญาติโลกราช (พ.ศ. 1985 – 2031) มีชีม่านหรือพม่า ช่ือ มังลุงหลว้าง ได้เข้ามาเมืองเชียงใหม่เพื่อ จะมาทําลาย “ศรีเมืองเชียงใหม่” ซึ่งมีต้น นิโครธเป็นศรีเมือง อยู่ทิศตะวันออกเฉียงเหนอื ของเมือง ถ้าทําลาย “ศรีเมือง” นี้ลงได้เชียงใหม่จึงจะเสื่อมอานุภาพ มังลุงหลว้าง ได้รับสินจ้างจากอยุธยาให้มา ทําลาย “ศรีเมือง” เมื่อมาถึงก็มีคนเลื่อมใส ความทราบถึงพระกรรณพญาติโลกราช พระองค์ให้ไป ถามเกี่ยวกับเมืองเชียงใหม่ วิธีทําให้บ้านเมืองเจริญรุ่งเรือง มั่นคง มีอานุภาพ ชีม่านได้บอกให้พญาติ โลกราชว่า ควรจะสร้างพระราชวังอยู่ทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเมือง “…เพราะบริเวณนั้นเป็น มงคลเป็นศรีเมืองโดยให้ตัดต้นนิโกรธลงและสร้างพระราชวัง “….”หื้อไปขุดม้างปราการเวียงอันเจ้า พญามังรายหื้อก่อนนั้นเสีย แล้วหื้อถมเวียงหื้อราบเพียงดีแล้ว หื้อไปตัดไม้นิโกรธต้นเป็นศรีเมือง เชียงใหม่ มีสาขาร่มกว้างงามนัก…..แล้วจึงปลงนามว่า ศรีภูมิหั้นแลฯ จึงหื้อบ่อง (เจาะ) ประตูเวียงดิน ชื่อว่า ประตูศรีภูมิแล้วก็หื้อปลงขัวศรีภูมิในปีนั้น…..”
ส่วนหออารักษ์ในช่วงระยะเวลาท่ีผ่านมาภายในแจ่งเมืองชั้นในมีอารักษ์ชื่อ “เจ้า บุญสม” เป็นผู้ดูแลรักษาสถานที่แจ่งศรีภูมิ ชาวบ้านในเขตตําบลศรีภูมิและม้าขี่หรือผู้ที่ทําหน้าที่ ประทับทรงเป็นผู้คอยดูแลในการจัดพิธีกรรมและสืบชาตาเมืองเชียงใหม่แจ่งศรีภูมิเป็นประจําทุกๆ ปี
ลักษณะทางสถาปัตยกรรมและศิลปกรรม
อาคารก่ออิฐถือปูนขนาดเล็ก หรือศาลาโล่ง มีหิ้งสําหรับวางขันหรือพานเครื่องบูชาเทวดาอารักษ์เมืองเชียงใหม่ ทําหน้าบันประดับตกแต่งลวดลายดอกไม้ปูนปั้น มีช่อฟ้าและหางวัน ลวดลายนาคคล้ายกับวิหารล้านนา