
วัดชัยพระเกียรติ
ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม
วัดชัยพระเกียรติ เดิมชื่อวัดผาเกียรติหรือวัดปราเกียร ที่ปรากฏในโคลงนิราศ หริภุญไชยกล่าวถึงพระอารามแห่งนี้เอาไว้ว่า สร้างขึ้นในช่วงที่ราชวงศ์มังรายปกครองเมืองเชียงใหม่ และได้รับการทำนุบำรุงโดยกษัตริย์เชียงใหม่ทุกพระองค์เรื่อยมาจนถึงสมัยพระเมกุฏิวิสุทธิวงศ์ กษัตริย์องค์ที่ 16 ของราชวงศ์มังราย องค์สุดท้ายของเชียงใหม่ยุคแรกเริ่ม พระวิหารหลังเดิมสร้างขึ้นในสมัยพระมหาเทวีจิระประภา กษัตริย์ลำดับที่ 14 แห่ง ราชวงศ์มังรายถวายแด่สมเด็จพระไชยราชาธิราช กษัตริย์อยุธยาราชวงศ์สุพรรณภูมิ ครั้งเมื่อพระไชยราชาได้ยกทัพมายังเมืองเชียงใหม่ ส่วนพระวิหารองค์ปัจจุบัน ประดิษฐานพระประธาน “พระพุทธรูป เมืองราย” รู้จักกันทั่วไปในชื่อ “พระเจ้าห้าตื้อ” หล่อด้วยโลหะผสมทองหนัก 5,000 กิโลกรัม ประทับอยู่ในซุ้มโขง ชื่อ “พระเจ้าห้าตื้อ” นั้นมาจากน้ำหนักขององค์พระที่หนัก 5 ตื้อ (1 ตื้อ เท่ากับ 1,000 กิโลกรัม)
ลักษณะทางสถาปัตยกรรมและศิลปกรรม พระพุทธรูปเมืองรายเจ้าเป็นพระพุทธรูปทองสำริด ประทับนั่งขัดสมาธิเพชร ปางมารวิชัย พ.ศ. 2108 ขนาดความสูง 94 นิ้ว น้ำหนัก 2 ล้านทองประดิษฐานในวิหารวัดชัยพระเกียรติ พุทธลักษณะเป็นแบบพุทธสิหิงค์ หรือสิงห์ แต่มีสัดส่วนขนาดใหญ่กว่า พระเศียรกลมรี เม็ดพระศกมี ขนาดใหญ่ พระอุษณีษะนูนสูงครึ่งวงกลม รัศมีรูปดอกบัว (ไม่ใช่ของเดิม) พระพักตร์กลมรูปไข่ พระขนงโก่งต่อกัน พระนาสิกโด่ง พระเนตรหรี่ลงครึ่งหนึ่ง ทอดลงต่ำ แย้มพระโอษฐ์เล็กน้อย พระหนุ เป็นต่อม พระกรรณยาว มีเส้นปล้องพระศอสามเส้น พระวรกายนั้น พระอุระนูน สังฆาฏิพาดเหนือ พระถัน พระนาภีเรียบ ไม่มีหยักรูปคันศรเหมือนกับพุทธลักษณะสิงห์ยุคต้นหรือแบบกระด้าง พระหัตถ์ขวาคว่ำวางอยู่เหนือพระชานุขวา นิ้วพระหัตถ์ไม่เสมอกัน พระหัตถ์ซ้ายหงายวางอยู่เหนือ พระเพลา พระบาทเรียบ และประทับขัดสมาธิเพชรแสดงปางมารวิชัย
ใต้ฐานพระพุทธรูปมีคำจารึกที่ด้านหน้าฐาน กล่าวถึงวันเวลาที่สร้าง ชื่อผู้สร้าง น้ำหนักและวัตถุประสงค์ในการสร้าง จารึกด้วยอักษรพม่า ภาษาพม่า อักษรมอญ ภาษาบาลี ภาษา สันสกฤต และภาษาเขมร ภายหลังจากที่พระเจ้าบุเรงนองกษัตริย์พม่ายึดอำนาจเมืองเชียงใหม่เป็นเมืองขึ้น แล้ว ใน พ.ศ. 2101 มีแม่ทัพชาวพม่าหรือขุนนางพม่าคนหนึ่งได้ปกครองเมืองเชียงใหม่ ชื่อ สังราม จ่าบ้าน ได้ร่วมกันรวบรวมพระพุทธรูปที่ชำรุดเสียหายจากวัดต่าง ๆ ซึ่งอาจจะเกิดจากการทำสงคราม กับพม่า หรืออาจจะเป็นวัดร้างไปในสมัยนั้น นำพระพุทธรูปที่ชำรุดมารวมกัน แล้วนำมาหล่อขึ้นเป็น พระพุทธรูปองค์ใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2108 เรียกชื่อพระพุทธรูปนี้ว่า “พุทธรูเมืองรายเจ้า” “เมืองราย” หมายถึง พญามังราย มีจารึกที่ฐานพระพุทธรูปว่า สร้างเพื่อถวายพระเกียรติและดวงวิญญาณของ พญามังราย ซึ่งเป็นพระเสื้อเมืองเชียงใหม่ แม่ทัพชาวพม่าสร้างพระพุทธรูปเมืองรายเจ้า เพื่อถ่ายโทษ และขอให้ดวงวิญญาณของพญามังรายไม่โกรธแค้นกองทัพพม่า ที่มายึดเมืองเชียงใหม่ดังข้อความจารึกที่ฐานพระพุทธรูป อักษรพม่าด้านหน้าฐาน 3 บรรทัด และอักษรธรรมล้านนาด้านหลังของ พระพุทธรูป 11 บรรทัด มีข้อความว่า
ด้านที่ 1 ศักราช ๙๒๗ วันพุธขึ้น ๑๓ คํ่า เดือนบุษยตอนบ่ายอังคารและศุกร์อยู่ในนักษัตร์ ฤกษ์ที่ ๔ ติถี๑๑ เจ้าไชยยะสรํพญาจาผัน ณ มหานคร ชื่อว่าเชียงใหม่ ผู้เป็นข้าหลวงใน เจ้าช้างเผือกเจ้าหอคํามหาธรรมราชเจ้าชีวิต เหนือเจ้าเมืองทั้งปวงมีความประสงค์ว่า ควรจะให้มีสิ่งสักการะสําหรับคนเทวดาและพราหมณ์ (ตลอด) ๕๐๐๐ (พรรษาของพระ ศาสนา) อันศักดิ์สิทธิ์จึงได้รวบรวม (?) บรรดาพระพุทธรูปที่แตกหักและนํามาหล่อ (?) รูปพระพุทธสัพพัญญูเป็นทองสัมฤทธิ์มีนํ้าหนัก ๕๐๐๐ (?) วิส
ด้านที่ 2 ศรีศุภมัสตุจุลศักราชได้๙๒๗ ตัว ในปีฉลูสนํากัมโพชพิสัย ไทยว่าปีดับเป้า เข้าใน กัตติกามาส ศุกลปักษ์พิสัยไทยว่าเดือนยี่ออก ๓ คํ่า พรํ่าได้วันศุกร์มิสงสัยไทยว่าวันรวายยี ยามกลองแลง แลเป็นศุภวารวันดีอันยิ่งจึงเจ้าทัพไชย สังรามจ่าบ้าน ผู้เป็นข้าอโนชิตแห่ง สมเด็จ
๒. พระธรรมิกราชาธิราชเจ้าเจ้าช้างเผือกหอคําตนประเสริฐลาเลิศอุตตมกว่าท้าว พระยาทั้งหลาย หมายแต่งไว้ให้อยู่รักษาพุทธศาสนาแลประชาราษฎร์ทั้งหลายในนพบุรีศรี มหานครเวียงพิงค์เชียงใหม่ยิ่งจึงรําเพิงเถิงคุณพุทธศาสนา ใคร่หื้อพระพุทธจําเริญจึงจัด…… หมายบุญราศีทั้งมวลแก่สมเด็จพระมหาเทวีเจ้าตนเป็นเหง้า ในนพบุรีแลท้าวพระยาเสนา อามาตย์
๓. สมณประชาราษฎร์ทั้งหลายก็หมายมีสมานฉันท์อันยิ่งจึงจักสรุปเอายังพุทธรูป ทั้งหลายหมู่เป็นจลาจลอันตรายแตกบ่หื้อย่อนเสีย ? รอม เอามาหื้อเป็นพุทธรูปไว้ดังเก่าเล่า จึงจักวางกรรมการไว้แก่หมื่นหลวงเหล็กหมื่นหลวงจ่าบ้านหมื่นหนังสือแล ชาวจ่าบ้านแล ขุนอังวะ (ขุน) หงสาทั้งหลายแรกตั้งไว้ในวันอัน……… นี้ไซร้เถิงเดือนบุษยมาส ไทยว่าเดือนสี่ ออกสิบสามคํ่า ๔. เม็ง…
๔ ไทยวันกาบเส็ด ยามตูดซ้าย ได้หล่อพุทธรูปองค์นี้มีคณนานํ้าหนักมีพอ ๒๐๐๐๐๐๐ ทองลวด ฉลองเบิกพระนามพระองค์นี้ชื่อ พระพุทธเมืองรายเจ้า ไว้เพื่อหื้อเป็น ที่ไหว้แก่คนแลเทพดาต่อเท้าห้าพันพระวัสสาแลด้วยเตชกุศลเจตนาอันได้สร้างพระพุทธเมือง รายองค์นี้กับได้สร้างลําเจียงหางไสคําเป็นลําแวด พระมหาเจดีย์เจ้านี้ไซร้เจ้าทัพไชยสังราม จ่าบ้านก็ยังตั้ง ปรารถนาไว้ว่าในอัตภาวะอันนี้หื้อมีชีวิตอันยืนตามเขตแล้วครั้นจุติก็หื้อเกิดใน สวรรค์เทวโลกเป็นต้นดาวดึงสาแลดุสิตาหื้ออยู่ตามอายุเวียงแก้ว เมื่ออริยเมไตรยาลงมาเป็น พระหื้อข้าเกิดร่วมวันทันยามหื้อเกิดในกระกูล อันประเสริฐคือท้าวพระยา………ใหญ่ ? เมื่อใดพระตรัสสัพพัญญูแล้วขอหื้อบวชข้าด้วยว่าเอหิภิกขุ ในสํานักพระเมไตรยแลรอด นิพพานกับพระพุทธเจ้าเทอญ