
วัดเจ็ดยอด (วัดมหาโพธาราม)
ตำบลช้างเผือก อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
วัดเจ็ดยอด ปรากฏในทางเอกสารตำนานเรียกว่า “วัดมหาโพธาราม” ตั้งอยู่ด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือเมืองเชียงใหม่ปัจจุบันอยู่ในเขตตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่รบริเวณถนนซุปเปอร์ไฮเวย์สายเชียงใหม่ – ลำปาง กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานในปี พ.ศ. 2478
ตามประวัติความเป็นกล่าวถึงพญาติโลกราชกษัตริย์เมืองเชียงใหม่ (พ.ศ. 1984 -2030) โปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดเจ็ดยอดแห่งนี้ขึ้นเพื่อจำพรรษาของพระมหาเถรอุตตมปัญญาและให้ปลูกต้นศรีมหาโพธิ์แล้วขนานนามวัดนี้ว่า วัดมหาโพธาราม มีลำดับเหตุการณ์ตามปรากฏในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ตามลำดับดังนี้
ในตำนานวัดมหาโพธาราม (เจ็ดยอด) มีข้อความกล่าวถึงพญาติโลกราชกษัตริย์เมืองเชียงใหม่ทรงมีความเลื่อมใสและสนับสนุนพระเถระคณะสีหล ครั้งเมื่อทรงสดับพระธรรมเทศนาเรื่องอานิสงส์ของการปลูกต้นศรีมหาโพธิ์จึงทรงมีพระราชประสงค์ที่จะปลูกต้นศรีมหาโพธิ์ทรงพิจารณาหาสถานที่ที่เหมาะสมได้บริเวณที่เป็นเนินร่มรื่นแห่งหนึ่งริมฝั่งแม่น้ำขานอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของราชธานีเชียงใหม่ พระองค์จึงทรงโปรดให้สร้างอารามขึ้นเพื่อให้เป็นที่อยู่ของพระมหาเถรชื่อ อุตตมปัญญา เมื่อ พ.ศ. 1998 (จ.ศ.817) โปรดให้ปลูกต้นศรีมหาโพธิ์ไว้ในอารามนี้ในปีเดียวกัน อนึ่งต้นศรีมหาโพธิ์นี้ซึ่งเป็นต้นศรีมหาโพธิ์ที่พระภิกษุรุ่นก่อน ๆ ที่ไปลังกาได้นำมาปลูกไว้ที่วัดป่าแดงหลวงเชิงเขาดอยสุเทพ พญาติโลกราชทรงโปรดให้นำจากวัดป่าแดงหลวงมาปลูกที่วัดนี้และเนื่องจากการที่พระองค์ทรงโปรดให้ปลูกต้นศรีมหาโพธิ์วัดนี้จึงได้ชื่อว่าวัดมหาโพธารามตั้งแต่นั้นมา
ภายหลังจากพระองค์ทรงปลูกต้นศรีมหาโพธิ์ได้ทรงโปรดให้จัดสถานที่ให้เหมือนกับต้นพระศรีมหาโพธิ์เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้าได้ทรงผจญมารและโปรดให้สร้างสัตตมหาสถาน นอกจากนี้ยังทรงสร้างพระวิหาร เจดีย์ ซุ้มประตูและกำแพง ทำการฉลองพระอารามนั้นเป็นการใหญ่ ต่อมาในปี พ.ศ. 2019 (จ.ศ.839) โปรดให้สร้างมหาวิหารไว้ในอารามนั้น
ปี พ.ศ. 2020 (จ.ศ.840) พญาติโลกราชทรงรับเป็นองค์ศาสนูปถัมภก ในการทำสังคายนาพระไตรปีฎกครั้งที่ 8 ของโลก (อัฐมสังคายนา) และเป็นครั้งแรกของประเทศไทยที่วัดมหาโพธารามมีพระธรรมทินมหาเถรเจ้าอาวาสวัดป่าตาลน้อยเป็นประธานฝ่ายสงฆ์ ใช้เวลาในการทำสังคายนา 1 ปี ซึ่งพระองค์โปรดให้สร้างมณฑปที่จะทำการสังคายนาและบำรุงพระภิกษุด้วยปัจจัย 4 ไม่ให้ฝืดเคือง เมื่อเสร็จแล้วทรงโปรดให้สร้างหอมณเฑียรธรรมสำหรับประดิษฐานพระไตรปีฎกแล้วทำการฉลองเป็นการใหญ่
ปี พ.ศ. 2026 (จ.ศ.845) ทรงมอบให้สีหโคตรเสนาบดีและอาณากิจจาธิบดีมหาอำมาตย์ หล่อพระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์ให้มีลักษณะเหมือนพระพุทธรูปแบบลวปุระที่วัดป่าตาลมหาวิหาร ซึ่งมีพระธรรมฑินนะเป็นเจ้าคณะและอุปัจฌาย์
ใน ปี พ.ศ. 2030 (จ.ศ.849) พญาติโลกราชทรงพระประชวรและเสด็จสวรรคตเมื่อพระชนม์พรรษาได้ 78 ชันษา เสนาอำมาตย์และราชวงศานุวงศ์พร้อมกันยกพญายอดเชียงราย ซึ่งเป็นพระราชนัดดาของพญาติโลกราชขึ้นครองราชย์แทนหลังจากขึ้นครองราชแล้วพญายอดเชียงรายได้จัดการถวายพระเพลิงพระบรมศพพญาติโลกราชซึ่งเป็นพระอัยกา ณ วัดมหาโพธารามเมื่อถวายพระเพลิงเสร็จทรงโปรดให้สร้างสถูปใหญ่องค์หนึ่งไว้ในวัดนี้ เพื่อประดิษฐานพระอัฐิธาตุของพระอัยกา
พญายอดเชียงรายครองราชได้ 9 ปี ตรงกับ พ.ศ. 2038 (จ.ศ.857) พวกอำมาตย์และราชวงศ์ษานุวงศ์พร้อมกันปลอดพญายอดเชียงรายออกจากราชสมบัติแล้วยกพญาเมืองแก้ว ซึ่งเป็นพระราชโอรสให้ครองราชย์แทน พญายอดเชียงรายที่ถูกส่งไปเมืองชะมาด เมืองน้อย อยู่ได้ 10 ปี ก็สิ้นพระชนม์ ใน พ.ศ. 2048 (จ.ศ. 867) พญาเมืองแก้วโปรดให้ถวายพระเถลิงพระศพพระราชบิดาที่วัดมหาโพธาราม
พ.ศ. 2053 (จ.ศ. 872) พญาเมืองแก้วมีพระชนมายุได้ 30 ชันษา พระองค์โปรดให้สร้างอุโบสถขึ้นหลังหนึ่งในที่ๆ ถวายพระเพลิงพระบรมศพพระราชบิดาของพระองค์ ที่วัดมหา โพธาราม โดยประทานที่แปลงหนึ่งแลกกับที่ดังกล่าว ครั้งเมื่อสร้างพระอุโบสถแล้ว แต่ยังไม่ได้ผูกพัทธสีมา พระองค์พร้อมด้วยพระราชมารดาได้ทรงสร้างพระมหาสุวรรณปฏิมากร นั่งสมาธิสูงเท่าส่วนพระมหากษัตริย์ทรงยืนประดิษฐานไว้ในพระอุโบสถ ต่อมาพระองค์ทรงโปรดให้ผูกพัทธสีมาขึ้นในปี พ.ศ. 2054 (จ.ศ. 873) ทรงนิมนต์พระภิกษุทั้งหมดมาจากทุกวัดในนครเชียงใหม่ ผูกพัทธสีมา ในครานั้นมีพระอภัยสารทมหาสามี (57 พรรษา) ซึ่งเป็นพระสังฆราชอยู่ที่วัดป่าแดงหลวงกับพระมหาเถรเจ้าอาวาสวัดมหาโพธาราม (47 พรรษา) เป็นคู่สวด และยังมีพระมหาเถระที่มีความเชี่ยวชาญในพระไตรปิฎกที่เป็นเจ้าคณะใหญ่และเป็นอาจารย์ของคณะสงฆ์อีกหลายท่านที่มาร่วมในพิธีนี้ และหลังจากที่ได้ผูกพัทธสีมาแล้วทรงโปรดให้พระสงฆ์นิกานสีหลอุปสมบทกุลบุตรในสีมาที่สมมุตินี้เพื่ออุทิศถวายแด่พระราชบิดาและพระราชมารดาของพระองค์
ต่อมาใน พ.ศ.2060 (จ.ศ.879) พญาเมืองแก้วทรงโปรดให้มีการปฏิสังขรณ์หอไตร หลังที่พญาติโลกราชโปรดให้สร้างไว้เพื่อเก็บพระไตรปิฎกที่พระองค์ทรงโปรดให้ทำสังคายนาเมื่อปี พ.ศ.2020 (จ.ศ.840) พญาเมืองแก้วทรงยกชฎามหามงกุฎที่ใช้สืบกันมาตั้งแต่ครั้งพญาติโลกราชพระราชทานให้ช่างทองตีแผ่ออกเป็นทองคำเปลวและปิดที่หอพระไตรปิฎกนั้นแล้วทรงอาราธนา พระมหาเถรผู้ทรงพระไตรปิฎก จำนวน 40 รูป มีพระเถระผู้เป็นใหญ่ในวัดมหาโพธารามเป็นประมุข ให้สวดพระไตรปิฎกแล้วทรงสมโภชฉลองเป็นการใหญ่ถึงขึ้น 8 ค่ำ ในปีเดียวกันนั้นพระองค์โปรดให้ปิดทององค์มหาสถูปซึ่งพระราชบิดาของพระองค์สร้างไว้เป็นที่บรรจุพระอัฐิธาตุและพระอังคารธาตุของพระราชอัยกา
พญาเมืองแก้วและพระราชมารดาทรงบริจาคเงินจำนวนหลายพันสร้างมณฑปเพื่อให้เป็นที่อยู่ของพระมหาเถรซึ่งเป็นใหญ่ในวัดมหาโพธาราม โดยกั้นบริเวณสองด้านประกอบด้วยซุ้มประตูทำรูปเป็นมณฑปน้อย ๆ ขึ้น 4 ด้าน มีเฉลียงลูกกรงแวดล้อมด้วยโรงช้าง เรือนใหญ่ เรือนหลวง มหามณฑปนั้นสร้างเสร็จสมบูรณ์ครบทุกอย่างเมื่อปีขาล พ.ศ. 2061 (จ.ศ. 880) งามเมืองสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ที่เป็นที่ประทับของพระอินทร์
พ.ศ. 2061 (จ.ศ. 880) พญาเมืองแก้วทรงแต่งตั้งพระมหาเถรสัทธัมมสัณฐิระ เจ้าอาวาสวัดมหาโพธารามเป็นสังฆราชสถิตอยู่ที่วัดป่าแดงหลวง ทรงอภิเษกและถวายราชทินนามจารึกลงในแผ่นทอง และในปีเดียวกันได้ทรงโปรดให้สร้างพระวิหารหลวงและก่อพระเจดีย์วัดมหาโพธาราม
พ.ศ. 2066 (จ.ศ. 885) ทรงอัญเชิญพระกัมโพชปฏิมามาประดิษฐานไว้ในปราสาทหอคำ ซึ่งตกแต่งด้วยทองคำเลียงสีสุกแดงมีลวดลายวิจิตรที่ในอุโบสถวัดมหาโพธาราม และใน พ.ศ.2068 (จ.ศ 887) พญาเมืองแก้วอัญเชิญพระพุทธรูปแก่นจันทน์ไปไว้ในพระอุโบสถวัดมหาโพธาราม
หลังจากสิ้นรัชกาลพญาเมืองแก้วแก้ว พญาเมืองเกศเกล้าขึ้นครองราชย์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2068 (จ.ศ. 888) ซึ่งในปีนี้เองพระมหาสังฆราชที่วัดป่าแดงหลวงมรณภาพ พระองค์ทรงแต่งตั้งให้พระมหาสรภังคเถรแห่งวัดมหาโพธาราม ไปเป็นพระสังฆราชแทนแล้วโปรดให้พระครูของพระองค์มาเป็นเจ้าอาวาสที่วัดมหาโพธาราม ซึ่งเป็นวัดที่พระองค์เคยผนวชแทน
หลังจากต้นรัชสมัยของพญาเมืองเกศเกล้าแล้วก็ไม่พบชื่อของวัดมหาโพธารามจากตำนานต่าง ๆ อีกเลยอาจเป็นเพราะบ้านเมืองตั้งแต่นั้นมีปัญหาเกิดขึ้นมากมายจนในที่สุดก็ตกเป็นเมืองขึ้นของพม่าเมื่อ พ.ศ. 2101 เป็นเวลาประมาณ 200 ปี หลังจากนั้นเชียงใหม่ก็ตกเป็นประเทศราชของไทย สมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี วัดเจ็ดยอดเป็นวัดที่อยู่นอกเมืองออกไปค่อนข้างไกลถึงแม้ว่าพระยากาวิละจะได้สร้างบ้านแปงเมืองขึ้นมาใหม่ก็คงทำเฉพาะในส่วนที่อยู่ในเมืองส่วนที่อยู่รอบนอกคงจะดูแลได้ไม่ทั่วถึง วัดวาต่าง ๆ โดยเฉพาะที่อยู่นอกเมืองคงร้างไปรวมทั้งวัดเจ็ดยอดด้วยดังจะเห็นได้จากการที่พระยากาวิละได้ปฏิสังขรณ์วัดวาอารามในเมืองเชียงใหม่ และรวบรวมพระพุทธรูปต่าง ๆ จากนอกเมืองเข้ามาประดิษฐานไว้ยังวัดในตัวเมือง รวบรวมเอาพระพุทธปฏิมากรนอกเวียงมีในสี่ทิศ มีพระเจ้าแข้งคม เป็นต้น
เรื่องราวของวัดเจ็ดยอดมาปรากฏอีกในระยะหลังที่มีนักวิชาการสนใจศึกษา เช่น ในพ.ศ. 2483 Hutchinson ได้เดินทางมาวัดเจ็ดยอดครั้งแรกพบสภาพที่รกรุงรังมีต้นไม้ปกคลุมไม่สามารถตรวจดูรายละเอียดของโบราณสถานได้อย่างชัดเจน แต่เมื่อเขากลับมาอีกครั้งเมื่อ พ.ศ.2490 วัดนี้มีสภาพดีขึ้นเพราะมีพระจำพรรษาอยู่ มีพระพรหมเสนเป็นเจ้าอาวาสปลูกกุฏิอยู่ด้านใต้ภายในบริเวณกำแพงชั้นใน (กำแพงแก้ว) ซึ่งมีวิหารเจ็ดยอดอยู่ตรงกลางสภาพภายในกำแพงชั้นในนี้ได้ถูกถากถางเตียน ทำให้เขาสามารถสำรวจโบราณสถานได้ดีกว่าคราวแรกหลังจากนั้นวัดเจ็ดยอดถูกทิ้งร้างอีกในช่วงปี พ.ศ.2492-2497 สภาพวัดชำรุดทรุดโทรมลงด้วยภัยธรรมชาติ โบราณวัตถุบางอย่างหายสูญไป โบราณสถานปรักหักพังถูกขุดคุ้ยรื้อหาสมบัติ อาณาบริเวณที่เคยกว้างขวางได้ขยับเข้ามาเหลือเพียงเล็กน้อยและถูกปล่อยให้รกร้างเป็นป่าเป็นพง
เนื่องจากวัดเจ็ดยอดว่างเจ้าอาวาส ใน พ.ศ.2498 ท่านเจ้าคุณพระสุเทพสิทธาจารย์เจ้าอาวาสวัดพระธาตุดอยสุเทพ ขณะที่ยังดำรงตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอเมืองเชียงใหม่ ได้ส่งพระครูอุดมโพธิคุณ มาเป็นเจ้าอาวาส ท่านได้พัฒนาวัดโดยการแผ้วถางป่าพงรกชัฏ บูรณะซ่อมแซม บำรุงรักษาโบราณวัตถุ และได้ชักชวนคระกรรมการวัดและคณะศรัทธาวัด ทำถนนเข้าโดยตัดจากถนนห้วยแก้วเมื่อ พ.ศ. 2500 และได้สร้างกุฏิใหม่เมื่อ พ.ศ. 2501 ต่อมา พ.ศ. 2506 ได้สร้างและขยายกำแพงวัดทั้ง 4 ด้าน และได้ติดต่อขอเทศบาลนครเชียงใหม่ติดตั้งและเดินสายไฟจากถนนห้วยแก้วเข้าไปในวัดและในหมู่บ้าน พ.ศ. 2510 ขออนุญาตกรมศิลปากรรื้อวิหารเก่า วางศิลาฤกษ์พระวิหารใหม่ พ.ศ. 2513
พ.ศ. 2508 – 2509 กรมทางหลวงได้ดำเนินการตัดทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 (ถนนซุปเปอร์ไฮเวย์สายเชียงใหม่–ลำปาง) จำนวน 2 ช่องทาง ได้เวนคืนพื้นที่ของวัดเจ็ดยอดจำนวน 12 ไร่เศษ ทำให้เจดีย์กู่แก้ว และพื้นที่บางส่วนของสระมุจลินท์ ซึ่งถูกถมและปรับระดับพื้นได้กลายเป็นโบราณสถานอยู่ในเขตของกรมทางหลวง นอกจากนี้ยังทำให้ผังเดิมของวัดเปลี่ยนไป คือ เขตของวัดทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ถูกร่นเข้ามาและซุ้มประตูโขง ที่เคยอยู่ตรงกึ่งกลางของกำแพงวัดด้านทิศตะวันออก ซึ่งเป็นทางเข้าหลักของวัด กลายเป็นอยู่ชิดมาทางมุมกำแพง และเมื่อทางวัดสร้างกำแพงและประตูทางด้านทิศใต้ติดถนนซุปเปอร์ไฮเวย์ทำให้ประตูด้านทิศใต้กลายเป็นทางเข้าหลักของวัดในปัจจุบัน
ลักษณะทางสถาปัตยกรรมและศิลปกรรม
สัตตมหาสถาน
พญาติโลกราชได้ทรงโปรดให้สร้างพระอารามและปลูกต้นศรีมหาโพธิ์ตามตำนานการสร้างวัดมหาโพธารามนั้น พระองค์ได้จำลองสัตตมหาสถานอันเป็นสถานที่ตรัสรู้ตามพุทธประวัติขึ้นภายในมหาโพธาราม โดยกำหนดให้ต้นศรีมหาโพธิ์เป็นศูนย์กลางและสร้างอาคารอื่น ๆ อีก 6 แห่ง ล้อมรอบ รวมเป็นสัตตมหาสถาน ซึ่งในชินกาลมาลีปกรณ์กล่าวแต่เพียงว่า “สร้างเวทีให้เหมือนต้นมหาโพธิที่พระพุทธทรงผจญมาร และสร้างสัตตมหาสถาน” โดยไม่ได้กล่าวว่าสัตตมหาสถานมีอะไรและตั้งอยู่ตรงไหน แต่ในตำนานวัดมหาโพธารามจากต้นฉบับเดิมภาษาพื้นเมือง ที่พระมหาหมื่น วุฑฒิญาโน วัดหอธรรมได้รวบรวมไว้ ได้กล่าวถึงชื่อและตำแหน่งของสัตตมหาสถานทุกแห่งว่า “โปรดเกล้าฯ ให้สร้างโพธิบัลลังก์ประดับประดาด้วยรูปและลวดลายต่าง ๆ งามวิจิตรยิ่งนักไว้ท่ามกลาง สร้างอนิมิสเจดีย์ไว้ทิศตะวันออกเฉียงเหนือไม่ไกลนักแต่โพธิบัลลังก์ สร้างจังกมะคือจงกรมไว้ทิศเหนือ ทรงสร้างรัตนฆะรังคือเรือนแก้วไว้ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ สร้างอชปาลนิโครธ (ไม้ไทร) ไว้ทิศตะวันออก สร้างสรุมุจลินท์ใกล้ต้นไม้จิกทิศตะวันออกเฉียงใต้ สร้างที่ไม้ราชายตน (ไม้เกตุ) ไว้ทิศใต้ ซึ่งตำแหน่งของสัตตมหาสถานที่กล่าวในตำนานวัดมหาโพธารามนี้ ตรงกับตำแหน่งที่กล่าวไว้ในพระปฐมสมโพธิกถาที่อธิบายสัตตมหาสถานไว้ว่า โพธิบัลลังก์ใต้ต้นโพธิ์ที่พระองค์ทรงผจญพญามารและทรงตรัสรู้ หลังจากตรัสรู้แล้วทรางประทับเสวยวิมิตติสุขอยู่เป็นเวลา 7 วัน
อนิมิสเจดีย์ อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของโพธิบัลลังก์ พระพุทธองค์ทรงประทับยืนลืมพระเนตรบูชาพระมหาโพธิ์เป็นเวลา 7 วัน
รัตนจงกรมเจดีย์ อยู่ทางทิศเหนือของโพธิบัลลังก์ ซึ่งพระพุทธองค์ทรงเนรมิตขึ้นและทรงเสด็จพุทธดำเนินจงกรมอยู่เป็นเวลา 7 วัน
รัตนฆรเจดีย์ อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของโพธิบัลลังก์ คือเรือนแก้วที่พระพุทธองค์ทรงพิจารณาพระปริยัติพระไตรปิฎกเป็นเวลา 7 วัน
อัชปาลนิโครธ อยู่ทางทิศตะวันออกของโพธิบัลลังก์ คือใต้ร่มไทรที่คนเลี้ยงแพะเคยพักร้อน พระพุทธองค์ทรงประทับเสวยวิมิตติสุขอยู่เป็นเวลา 7 วัน ณ ทีนี้ ธิดาของพญาวัสวดีมาร คือ นางราคา นางอรดี และนางตัณหา มายั่วยวนพระพุทธเจ้า
มุจลินทพฤกษ์ คือต้นไม้จิก อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของโพธิบัลลังก์ พระพุทธองค์ทรงประทับเสวยวิมุตติสุขเป็นเวลา 7 วัน ณ ที่นี้ มีพญานาคามิจลินท์ที่อาศัยอยู่ในสระโบกขรณีใกล้กับต้นมุขลินท์ ได้ขึ้นมาขนดกายและแผ่พังพานป้องกันลมและฝนแด่พระพุทธเจ้า
ราชายตนพฤกษ์ คือต้นไม้เกตุ อยู่ทางทิศใต้ของมุจลินทพฤกษ์ พระพุทธองค์ทรงประทับเสวยวิมุตติสุขเป็นเวลา 7 วัน ณ ที่นี้ พระอินทร์ได้ถวายผลสมอทิพย์และตปุสสะกับภัลลิกะ พ่อค้าสองพี่น้องถวายข้าวสัตตุก้อนสัตตุผง
วัดมหาโพธารามเหลืออาคารที่เป็นโบราณสถานอยู่ 9 แห่ง ในการหาตำแหน่งของสัตตมหาสถาน จึงต้องอาศัยตำแหน่งจากตำนานและเรื่องราวในพุทธประวัติและลักษณะของสิ่งก่อสร้าง รวมทั้งตำแหน่งของสัตตมหาสถานที่พุทธคยา มาเป็นข้อวินิจฉัย โดยใช้ความเห็นของนักวิชาการที่กล่าวไว้ช่วยประกอบ ดังนี้
โพธิบัลลังก์
โพธิบัลลังก์ คือ วัชรอาสน์หรือพุทธบัลลังก์ที่พระพุทธองค์ทรงประทับนั่งใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ตอนตรัสรู้ ที่พุทธคยา ต่อมาได้สร้างวิหารมหาโพธิ์ไว้ตรงที่นั้น สำหรับที่วัดเจ็ดยอดวิหารมหาโพธิ์ก็คือวิหารเจ็ดยอดที่สร้างคล้ายกับวิหารมหาโพธิ์ที่พุทธคยานั่นเอง
สภาพปัจจุบันของวิหารเจ็ดยอดได้เปลี่ยนแปลงไปบางส่วน เมื่อนาย Hutchinson มาพบนั้น โบราณสถานแห่งนี้ตั้งอยู่กลางสนาม มีกำแพงชั้นใน (กำแพงแก้ว) ล้อมรอบอาคารที่อยู่กลางสนามนี้ตั้งอยู่บนฐานเดียวกันคือ วิหารเจ็ดยอด ที่ประกอบไปด้วยอาคารประธานมุขด้านตะวันออกและมุขด้านตะวันตก ถัดจากมุขด้านตะวันออกเป็นชานโล่งคั่นระหว่างวิหารเจ็ดยอดและวิหารหลวงหลังเดิม บริเวณที่เป็นชานโล่งนี้มีร่องรอยของหลังคาจากและเสารอบรับหลังคา คล้ายต่อออกมาจากด้านหน้าของวิหารเจ็ดยอด ทางขึ้นสู่วิหารทำเป็นบันไดเล็ก ๆ ขึ้นสู่ชานด้านเหนือและด้านใต้ ความยาวของฐานทั้งหมดรวม 64.33 เมตร
ต่อมาเมื่อรื้อวิหารหลวงหลังเก่าเพื่อสร้างวิหารหลวงหลังปัจจุบันเมื่อ พ.ศ. 2513 ได้ร่นวิหารมาทางทิศตะวันออก ทำให้ด้านหน้าของวิหารที่เป็นมุขโถงอยู่เลยแนวกำแพงแก้วออกไปเล็กน้อย ด้านหลังวิหารใหม่นี้จึงร่นไกลออกมาจากวิหารเจ็ดยอดมาก และได้มีการทุบฐานเดิมนี้ออกให้เป็นช่องทางเดิน เหลือส่วนตรงกลางที่เคยเป็นที่ประดิษฐานของพระประธานในวิหารหลังเก่าอยู่ตรงกลางระหว่างวิหารเจ็ดยอดและวิหารหลวงหลังปัจจุบัน และทำบันไดใหม่ขึ้นสู่วิหารเจ็ดยอดตรงประตูทางเข้าด้านตะวันออก
การสร้างวิหารหลวงหลังใหม่โดยร่นมาจนถึงกำแพงด้านตะวันออก และตัดฐานของอาคารทำให้ความงดงามและความสมดุลที่มีวิหารเจ็ดขอดพร้อมทั้งวิหารหลวงรวมอยู่บนฐานเดียวกัน ตั้งเด่นอยู่กลางสนามโดยมีกำแพงแก้วล้อมรอบ ถูกทำลายไปอย่างน่าเสียดาย
แผนผังวิหารเจ็ดยอดสร้างด้วยศิลาแลง ประกอบด้วยอาคารประธานและมุขด้านตะวันออกกับด้านตะวันตก อาคารประธานมีผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ายกเก็จออก 3 ช่วง ทางด้านตะวันตก ภายในเป็นคูหาเพดานโค้ง มีบันไดแคบ ๆ เจาะเข้าไปในผนังทางด้านเหนือและใต้ขึ้นสู่ลานชั้นบน ผังชั้นบนของอาคารประธานเป็นลานปูด้วยศิลาแลง มุขด้านตะวันออกและตะวันตกลดระดับลงไปจากระดับลานของอาคารประธาน ส่วนบนของวิหารมียอดตั้งอยู่ 7 ยอด
มุขด้านตะวันตกแคบกว่าอาคารประธาน มีบันไดทางทิศตะวันตจกขึ้นสู่คูหารูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เพดานโค้ง สุดผนังด้านในที่กั้นระหว่างมุขด้านตะวันตกกับอาคารประธานประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัย ที่เรียกกันว่า “พระเจ้าทันใจ”
มุขด้านตะวันออกขยายพื้นที่กว้างกว่าอาคารประธานออกไปทางทิศเหนือและทิศใต้ ด้านละ 1.56 เมตร มีบันไดทางทิศตะวันออกขึ้นสู่ภายในต่อเนื่องกับคูหาเพดานโค้งของอาคารประธาน ส่วนฐานประกอบด้วยฐานเขียง 2 ชั้นรองรับชุดฐานบัวคว่ำซ้อนกัน 2 ฐาน ต่อเนื่องด้วยแถบนูนแนวนอน (ลวดบัว/ลูกแก้วอกไก่) บริเวณท้องไม้ของชุดฐานบัวคว่ำควรมีลายปูนปั้นประดับ ปัจจุบันเหลือแต่ลายประจำยามก้ามปูสลับลายกรอบวงโค้งทรงสี่เหลี่ยม (ลายช่องกระจก) บนท้องไม้ของชุดฐานบัวคว่ำชั้นที่ 2 เท่านั้น ซึ่งในกรอบวงโค้งนี้น่าจะเคยมีลวดลายประดับอยู่ภายใน แต่ปัจจุบันหลุดร่วงไปหมดแล้ง
ตัวอาคารภายในอาคารประธานที่มีคูหาเพดานโค้ง ต่อเนื่องจากมุขด้านตะวันออกเข้ามาเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ด้านในสุดประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัย ผนังของอาคารทั้งหมดก่อด้วยศิลาแลงที่หนาและตัน ช่วยในการรับน้ำหนักของยอดทั้ง 7 ที่อยู่ข้างบน ส่วนบันไดที่ขึ้นสู่ลานชั้นบนทั้ง 2 ด้านนั้น ได้เจาะรูกลมไว้ที่ผนังด้านทิศเหนือและทิศใต้ให้ตรงกับช่องทางขึ้น เพื่อให้แสงสว่างลอดเข้าไปในช่องบันได
สำหรับผนังด้านนอกของอาคารประธาน มุขด้านตะวันออกและตะวันตกแบ่งพื้นที่ในแนวนอนออกเป็นสองส่วน โดยใช้แถบนูนแนวนอนคั่น ส่วนในแนวตั้งแบ่งด้วยเสาแปดเหลี่ยมที่มองเห็นเพียงครึ่งเดียว ทำให้เกิดกรอบสี่เหลี่ยม ภายในกรอบประดับด้วยประติมากรรมปูนปั้นรูปเทวดาลอยอยู่ท่ามกลางพันธุ์พฤกษา เหนือกรอบสี่เหลี่ยมในแนวบน มีแถบนูนแนวนอน สองเส้นคาดขนานกันภายในประดับด้วยสายพันธุ์พฤกษา ซึ่งเหลืออยู่เพียง 3 แห่ง ต่อจากนั้นเป็นแนวศิลาลงขึ้น ไปจนสุดผนัง
ส่วนบน ส่วนบนของอาคารนี้มียอดอยู่ 7 ยอด ประกอบด้วยยอดทรงศิขร 5 ยอด มียอด ประธานอยู่ตรงกลาง ยอดบริวารอยู่ที่มุมทั้ง 4 ตั้งอยู่บนลานชั้นบนของอาคารประธาน ส่วนยอดทรง ระฆัง 2 ยอดอยู่บนมุขด้านทิศตะวันออก ยอดทรงศิขรทั้ง 5 ยอดมีมุขยื่นออกมาทางด้านหน้า ยอด ประธานและยอดบริวาร 2 ยอดด้านตะวันตกมีมุขยื่นออกมาทางตะวันออก ส่วนยอดบริวารทางด้าน ตะวันออก 2 ยอดมีมุขยื่นออกมาทางตะวันตกหันเข้าหาใจกลางของอาคาร มุขของยอดประธานมี ทางเข้า 3 ทาง คือด้านหน้าและด้านข้าง ซุ้มประตูท้างเข้าด้านหน้าก่อวงโค้งด้วยศิลาแลงรูปลิ่ม มีทางเดินเข้าไปสู่ห้องรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสภายใต้ยอดประธาน สุดผนังด้านในประดิษฐานพระพุทธรูปปูน ปั้นปางมารวิชัย สำหรับมุขของยอดบริวารทั้ง 4 มีทางเข้าด้านหน้าทางเดียว ซุ้มประตูทางเข้าก่อด้วย ศิลาแลงแบบซ้อมเหลื่อมขึ้นไปเป็นชั้น ๆ ภายในมุขของยอดบริวาร 2 ยอดทางตะวันตกประดิษฐาน พระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัย ส่วนมุขของสองยอดทางตะวันออกเป็นทางลงสู่คูหาด้านล่าง ยอดทรงศิขรมีลักษณะเป็นทรงสี่เหลี่ยมจตุรัสสอบขึ้นรับส่วนยอดที่ประกอบด้วยบัวปาก ระฆังทำเป็นลายอามลกะ ต่อด้วยทรงระฆัง ก้านฉัตร ปล้องไฉนและปลีขนาดเล็กในทรงดอกบัวตูมซึ่ง ปลียอดประธานได้หักไปแล้ว สำหรับการประดับลวดลายบนยอดศิขร ได้แบ่งพื้นที่การประดับโดยขีด เส้นคู่ 2 เส้น บนพื้นปูนฉาบของทรงสี่เหลี่ยมสอบขึ้น ทำให้แบ่งพื้นที่ในแนวตั้งออกเป็น 3 ส่วน และ ใช้แถบนูนแนวนอนเส้นคู่ที่ประดับด้วยกลีบบัวคว่ำและบัวหงาย แบ่งแนวนอนออกเป็นชั้น ขนาด ลดหลั่นกันขึ้นไป 9 ชั้น ตัดกับเส้นในแนวตั้งเป็นช่องสี่เหลี่ยม ภายในช่องสี่เหลี่ยมด้านข้างแนวตั้งทั้ง 2 ด้านประดับด้วยลายอามลกะ 3 ลอนสลับกันกับลายกุฑุ 2 วง ในชั้นถัดขึ้นไป ส่วนในช่องกลางเป็น ลายกุฑุ 1 วง สลับกับลายกุฑุ 2 วง ส่วนผนังด้านข้างและที่มุมของฐานทรงสี่เหลี่ยมจตุรัส ของยอดประธานประดับด้วยลายครอบคดโค้งในทรงสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ภายในกรอบทำเป็นลาย กระหนกและลายเมฆ ยอดประธานนี้แต่เดิมคงปิดทองจังโก (หุ้มแผลง) เพระพบเศษโลหะติดอยู่กับ ตะปูจีน ที่ฝังติดอยู่ตามผิวปูนฉาบ แต่ตะปูเหล่านั้นก็ชำรุดหักหายเกือบหมด เหลือเพียงส่วนที่ฝังใน เนื้อปูนเท่านั้น ส่วนยอดบริวารพบร่องรอยของการลงรักปิดทอง สำหรับยอดทรงระฆัง 2 ยอดที่อยู่บนมุขด้านตะวันออกประกอบด้วยฐานเขียงในผังกลม 3 ชั้นรองรับทรงระฆัง ต่อด้วยบัลลังก์รูปฐานบัวในผังสี่เหลี่ยมจัตุรัส ต่อด้วยก้านฉัตร บัวฝาละมี ปล้อง ไฉนและปลียอดในรูปดอกบัวตูม วิหารเจ็ดยอดนี้ได้รับการบูรณะโดยกรมศิลปากรเมื่อ พ.ศ.2508, 2517-2520 และ 2534 – 2535
อนิมิสเจดีย์ อนิมิสเดีย์อยู่ทางทิศเหนือของวิหารเจ็ดยอด เชื่อกันว่าเป็นหนึ่งในสัตตมหาสถานที่ สร้างขึ้นในสมัยพญาติโลกราช ถึงแม้ว่าตำแหน่งที่กล่าวไว้ในตำนานจะอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ แต่ก็อยู่ในตำแหน่งเดียวกับอนิมิสเจดีย์ที่พุทธคยาที่อยู่ทางทิศเหนือของวิหารมหาโพธิ์ และอีก ประการหนึ่ง คือซุ้มคูหาที่ประดิษฐานพระพุทธรูปอยู่ด้านทิศใต้ หันเข้าหาวิหารเจ็ดยอด ตรงกับ เรื่องราวในพุทธประวัติตอนนี้ว่า พระพุทธองค์ประทับยืนจ้องโพธิบัลลังก์โดยไม่กระพริบพระเนตร เป็นเวลา 7 วัน และภายในคูหานี้มีพระพุทธรูปปางถวายเนตรที่สร้างขึ้นใหม่แทนของเดิมที่หายไป ประดิษฐานอยู่ 42 สภาพก่อนการบูรณะของกรมศิลปากร เมื่อปีงบประมาณ 251 – 2520 พบว่า มีอิฐ หักปละดินร่วงลงมาทับถมกัน และมีต้นหญ้าขึ้นปกคลุม ภายหลังการขุดแต่งให้เห็นลักษณะของ ทรวดทรงเดิมแล้วจึงทำการบูรณะซ่อมแซม อนิมิสเจดีย์ เป็นเจดีย์ทรงปราสาทในผัง 8 เหลี่ยม อยู่บนฐานทักษิณที่มีกำแพงแก้ว เจาะช่องเป็นรูปกากบาทล้อมรอบ องค์เจดีย์ประกอบด้วยฐานเขียงรองรับฐานบัวลูกแก้วอกไก่ ต่อ ด้วยเรือนธาตุทรง 8 เหลี่ยมมที่มีจระนำอยู่ตรงกลางทุกด้าน ด้านทิศใต้เป็นคูหาลึกเข้าไปสำหรับ ประดิษฐานพระพุทธรูป ด้านอื่น ๆ เป็นจระนำตื้น ๆ เหนือเรือนธาตุทำเป็นหลังคาเอนลาดซ้อน ลดหลั่นกัน่ขึ้นไป 3 ชั้น แต่ละชั้นมีซุ้มขนาดเล็กประดับทั้ง 8 ด้าน ซึ่งคงเหลือให้เห็นอยู่บนหลังคาชั้น แรก ส่วนต่อจากชั้นหลังคาลาดพังทลายหมดเหลือเพียงบางส่วนที่ทำให้เห็นว่าเป็นองค์ระฆังกลม ส่วนที่หักหายไปคงเป็นปล้องไฉนและปลี เช่นเดียวกับเจดีย์ 8 เหลี่ยมที่วัดสะดือเมืองที่สร้างขึ้นราว ปลายพุทธศตวรรษที่ 19 กรอบซุ้มจระนำตื้นทั้ง 7 ด้าน ทำเป็นกรอบหน้านาง ซึ่งลวดลายหลุดร่วงหมดแล้ว กรอบซุ้มด้านทิศใต้เป็นกรอบซุ้มคดโค้ง ด้านในประดับด้วยลายเม็ดกลมเรียงขนาดกัน 2 แถว ด้านบน และด้านล่างของกรอบประดับด้วยลายรูปตัวเหงา กึ่งกลางของกรอบซุ้มเป็นลายคดโค้งในรูปสี่เหลี่ยม จัตุรัสแนวทะแยง ภายในประดับด้วยรูปสัตว์ ปลายกรอบซุ้มทำเป็นรูปตัวเหงา ภายในเป็นลายดอกไม้ ใบไม้เกี่ยวพันกัน และที่หน้ากระดานหัวเสาทำเป็นกรอบสี่เหลี่ยมภายในมีลายดอกไม้
รัตนจงกรมเจดีย์ ตามตำนานกล่าวว่าอยู่ทางทิศเหนือของโพธิบัลลังก์ ที่พุทธคยาพบรัตนจงกรมเจดีย์ ที่เหลือฐานของเสาต่อเนื่องเป็นแนวยาวและแคบอยู่ภายในรั้วทางด้านเหนือของวิหารมหาโพธิ์ตั้งอยู่ ในแนวตะวันออกกับตะวันตก ทำคล้าย ๆ กับว่าพระพุทธองค์เดินจงกรมกลับไปกลับมาอยู่บริเวณนั้น ที่วัดเจ็ดยอด นาย Hutchinson พบว่า บริเวณด้านในของกำแพงแก้วทางด้านเหนือของวิหารเจ็ด ยอด ต่อเนื่องกับอนิมิสเจดีย์ที่อยู่ด้านนอกของกำแพงแก้ว มีกองดินและอิฐทับถมกันสูงเท่ากำแพง ซึ่ง อาจจะเป็นรัตนจงกรมเจดีย์ ในปัจจุบันตำแหน่งที่ Hutchinson กล่าวนั้นไม่เหลือกซากของอาคาร แล้ว แต่บนพื้นดินยังคงมีอิฐปูอยู่เป็นแนวยาว ซึ่งอาจจะเป็นฐานของรัตนจงกรม นอกจากนี้ ในการขุด แต่งกำแพงแก้ว โดยกรมศิลปากรในขณะนี้ ได้พบฐานของอาคารชนกับกำแพงแก้วด้าน 44 เหนือ ห่างจากร่องรอยที่คาดว่าเป็นรัตนจงกรมมาทางตะวันตกเล็กน้อย จากการพบฐานอาคารแห่ง ใหม่นี้ ชวนให้คิดว่ารัตนจงกรมอาจมีเจดีย์ 2 องค์ที่ทำเสมือนพระพุทธองค์เดินจงกรมไปมาคล้ายกับที่ พุทธคยา และตำแหน่งของรัตนจงกรมซึ่งประกอบด้วยเจดีย์ 2 องค์ ตั้งอยู่ในแนวเดียวกันคนละด้านนี้ ยังไปพ้องกับรัตนจงกรมเจดีย์ที่วัดชเวกูจี เมืองหงสาวดี ซึ่งสร้างโดยพระเจ้าธรรมเจดีย์ ที่ร่วมสมัยกับ พญาติโลกราชอีกด้วย อย่างไรก็ตาม คงต้องรอให้กรมศิลปากรทำการขุดแต่งร่องรอยของฐานโบราณสถาน 2 แห่ง ดังกล่าว เพื่อจะได้ศึกษาต่อไปว่าเป็นรัตนจงกรมเจดีย์จริงหรือไม่
รัตนฆรเจดีย์ รัตนฆรเจดีย์ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของวิหารเจ็ดยอด ตรงกับตำแหน่งที่กล่าว ไว้ในตำนาน และตรงกับตำแหน่งของรัตนฆรเจดีย์ที่พุทธคยา สภาพก่อนการบูรณะของกรมศิลปากร เมื่อปีงบประมาณ 2527 เป็นเนินโบราณสถานที่อยู่นอกกำแพงแก้วทางด้านตะวันตก แต่บางส่วนของเนินด้านตะวันออกได้ถูกไถทำลายไปในการก่อสร้างกำแพงใหม่ คงเหลืออยู่ในระดับที่สูง่จากพื้นดิน ปกติเล็กน้อย ในการบูรณะครั้งนั้นได้ทุบกำแพงนี้บริเวณที่สร้างตัดผ่านเนินโบราณสถานออก หลังการ ขุดแต่งพบว่าเป็นเจดีย์ที่มีการสร้างทับซ้อนกันอย่างน้อย 2 ครั้ง และทางด้านตะวันออกพบฐานซึ่ง สันนิษฐานว่าอาจจะเป็นฐานของวิหาร แต่จากการขุดแต่งแนวกำแพงชั้นใน ซึ่งเป็นกำแพงแก้วเดิมที่ สร้างล้อมรอบวิหารเจ็ดยอดในขณะนี้ ทำให้ทราบว่าฐานของอาคารที่เคยสันนิษฐานว่าเป็นฐานวิหาร นั้นที่จริงคือส่วนหนึ่งของแนวกำแพงแก้ว รัตนฆรเจดีย์ เป็นเจดีย์ทรงปราสาทที่อยู่ในผังสี่เหลี่ยมจัตุรัสตั้งอยู่บนฐานทักษิณ ซึ่ง ประกอบด้วยฐานเขียงซ้อนกัน 2 ชั้น ต่อด้วยฐานบัวที่มีแต่บัวคว่ำไม่มีบัวหงายเหมือนกบฐานของ วิหารเจ็ดยอด ด้านทิศตะวันออกมีบันไดขึ้นสู่ลานทักษิณ องค์เจดีย์ประกอบด้วยฐานเขียงชั้นล่างเป็น สี่เหลี่ยมจตุรัสยกมุมไม้สิบสองต่อด้วยฐานเขียงยกเก็จ 3 ชั้น รองรับฐานบัวยกเก็จ ถัดไปเป็นชั้นเรือน ธาตุซึ่งเหลืออยู่ไม่มากนัก ประกอบด้วยเส้นลวด บัวคว่ำ เส้นลวด ท้องไม้ และลูกแก้ว จากนี้ขึ้นไป พังทลายหมดแล้ว ปัจจุบันกรมศิลปากรได้บูรณะก่อนเสริมขึ้นเล็กน้อย ส่วนผังพื้นของเรือนธาตุประกอบด้วยซุ้มคูหาประดิษฐานพระพุทธรูปอยูทางทิศตะวันออก อีก 3 ด้านเป็นซุ้มตื้น ๆ อชปาลนิโครธเจดีย์ ตามตำแหน่งที่กล่าวไว้ในตำนานวัดมหาโพธาราม อชปาลนิโครธอยู่ทางทิศ ตะวันออกของโพธิบัลลังก์ แต่ในปัจจุบันไม่มีโบราณสถานนอกจากร่องรอยของอิฐบนพื้นดิน ซึ่ง อาจจะเป็นฐานของอาคารอยู่ทางทิศตะวันออก ระหว่างกำแพงด้านนอก (กำแพงวัด) กับกำแพงด้าน ในบริเวณดังกล่าวอาจเป็นตำแหน่งที่ตั้งของอชปาลนิโครธ ซึ่งต้องรอให้กรมศิลปากรทำการขุดแต่งว่า มีฐานของอาคารอยู่ใต้พื้นดินบริเวณนี้หรือไม่ มณฑปมุจลินท์ มณฑปมุจลินท์ อยู่นอกกำแพงแก้วออกไปทางทิศใต้ค่อนข้างไกลจากวิหารเจ็ดยอด ตำแหน่งตรงกับที่กล่าวไว้ในตำนานและตรงกับที่พุทธคยา เมื่อ Hutchinson เดินทางมาใน พ.ศ. 2490 พบว่าอาคารนี้มีต้นโพธิ์ขึ้นปกคลุมและทำให้ตัวอาคารแยกออกและเข้าใจว่าอาคารนี้เป็นเจดีย์ บรรจุอัฐิพระเมืองเกศเกล้า กรมศิลปากรได้ทำการขุดแต่งบูรณะเมื่อปีงบประมาณ 2517-2520 โดย ถากถางวัชพืช ขุดลอกดินและเศษอิฐที่ทับถมออก ก่อผนังส่วนที่พังทางมุมด้านตะวันตกเฉียงเหนือ และบูรณะซุ้มประตู
มณฑปมุจลินท์เป็นอาคารทรงมณฑปรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสก่อด้วยอิฐ ส่วนฐานล่างสุด เป็นฐานเขียงซ้อนลดหลั่นกัน 4 ชั้น รองรับฐานบัว ต่อด้วยฐานเขียง เส้นลวด บัวคว่ำ เส้นลวด ท้องไม้ และเส้นลวดต่อกับผนังมณฑปโดยไม่มีบัวหงาย ตัวอาคารมีประตูทางเข้าอยู่ทางด้านทิศตะวันออก ผนังอีก 3 ด้าน ก่อทึบไม่มีช่องประตูหน้าต่าง ภายในเป็นเพดานโค้งแต่หลังคาด้านนอกแบนราบ ซุ้มประตูก่อด้วยอิฐเรียงตามแนวตั้งแบบพุกาม สุดผนังด้านในประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นปางนาค ปรก ที่สร้างขึ้นใหม่ทับบนฐานเดิม ตัวอาคารไม่มีลายปูนปั้นเหลืออยู่ ด้านหน้าทางทิศตะวันออกของมณฑปเป็นสระมุจลินท์ แต่เดิมเคยมีน้ำเต็มและมี เนื้อที่มาก ปัจจุบันเนื้อที่บางส่วนอยู่ในเขตกรมทางหลวง ซึ่งได้ไถกลมและปรับพื้นที่แล้ว ส่วนที่ยังคง เหลืออยู่ในเขตวัดปัจจุบันตื้นเขิน แต่พบว่ามีการก่อบริเวณขอบสระด้วยอิฐลดหลั่นจากขอบลงไป จนถึงก้นสระ
ราชายตนเจดีย์ ตำนานวัดมหาโพธาราม กล่าวว่า ราชายตนอยู่ทางทิศใต้ของโพธิบัลลังก์ ซึ่ง Hutchinson กล่าวไว้ว่า “ด้านนอกของกำแพงทางทิศใต้ ระยะไม่ห่างจากช่องทางออกนัก มีซากของ อาคารทรงกลมขนาดเล็ก ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นบริเวณที่เป็นราชายตน” ปัจจุบันไม่เหลือซากของอาคาร 48 ดังกล่าว แต่มีเศษอิฐและแผ่นอิฐอยู่บนพื้นดินในตำแหน่งเดียวกับที่ Hutchinson เคยเห็นซากอาคาร และพระดวงแก้วฐาติธม. โม ซึ่งเป็นคนตำบลเจ็ดยอดนี้ และบวชอยู่ที่วัดเจ็ดยอดมานานแล้ว ได้ให้ สัมภาษณ์ว่าเคยเห็นซากเจดีย์องค์นี้เมื่อประมาณ พ.ศ.2507-2508 นอกจากนี้ ตำแหน่งของราชตนที่ พุทธคยาก็อยู่ในตำแหน่งเดียวกัน คืออยู่นอกรั้วที่ล้อมรอบมหาวิหารโพธิไปทางทิศใต้ไม่ไกลนักเช่นกัน ฉะนั้นจึงน่าจะเป็นไปได้ว่าตำแหน่งที่ Hutchinson พบนั้นคือราชายตนเจดีย์ โบราณสถานอื่นๆ เจดีย์บรรจุอัฐิพญาติโลกราช สร้างในสมัยพญายอดเชียงรายเมื่อ พ.ศ.2026 เพื่อบรรจุพระอัฐิธาตุและพระอังคาร ธาตุของพญาติโลกราช หลังจากที่วัดเจ็ดยอดถูกทิ้งร้างไปเป็นเวลานาน ทำให้เจดีย์ปรักหักพังไปตาม กาลเวลา ต่อมา กรมศิลปากร ได้ทำการขุดแต่งและบูรณะซ่อมแซม ในปีงบประมาณ 2517 ถึง 2520 และในปีงบประมาณ 2527 เจดีย์องค์นี้ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของวิหารเจ็ดยอด เป็นเจดีย์ทรง ปราสาทขนาดใหญ่ก่อด้วยอิฐ กว้าง 22.25 สูง 32.50 เมตร ประกอบด้วนส่วนล่างสุดเป็นชุดฐานเขียง ในผังสี่เหลี่ยมจัตุรัสซ้อมลดหลั่นกัน 3 ชั้น รองรับฐานบัวลูกแก้วอกไก่ยกเก็จ ต่อด้วยเรือนธาตุทรง สี่เหลี่ยมยกเก็จ มีจระนำอยู่ตรงกลางทั้ง 4 ด้าน ด้านทิศตะวันออกทำจระนำลึกกว่าอีก 3 ด้าน ซึ่งใน ปัจจุบันยังคงมีพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัยประดิษฐานอยู่ ส่วนเสารับกรอบซุ้มประดับด้วยลาย กาบบน (บัวคอเสื้อ) และกาบล่าง (บัวเชิงล่าง) ลายกาบเหล่านี้ประกอบด้วยวงโค้งขนาดเล็กต่อเนื่อง ไปบรรจบกันเป็นทรงสามเหลี่ยม ภายในประดับด้วยลายพันธุ์พฤกษาที่มีทั้งดอกก้านและใบ เหนือ เรือนธาตุเป็นหลังคาเอนลาดลงมา 1 ชั้น ต่อด้วยชุดฐานบัวในผังกลม 3 ชั้นรองรับองค์ระฆัง ก้านฉัตร ปล้องไฉน และปลี เจดีย์องค์นี้ไม่มีบัลลังก์เหมือนเจดีย์ทรงปราสาทแบบพม่า และลักษณะโดยรวมของ เจดีย์คล้ายกับเจดีย์หลวงที่ซ่อมโดพญาติโลกราช แต่ที่ยกเก็จของเรือนธาตุเป็นมุนขนาดเล็กกว่า กู่พระแก่นจันทน์แดง กู่พระแก่นจันทน์แดงอยู่ทางทิศตะวันออกของเจดีย์บรรจุอัฐิพญาติโลกราช เป็น เจดีย์ทรงปราสาทอยู่ในผังสี่เหลี่ยมจัตุรัส ประกอบด้วยฐานเขียงรองรับฐานบัวยกเก็จ มีลูกแก้วอกไก่ คาดที่ท้องไม้ 2 เส้น ต่อด้วยเรือนธาตุยกเก็จ ตรงกลางทั้งสี่ด้านของเรือนธาตุทำเป็นซุ้มคูหาทะลุถึง กัน ส่วนโค้งของซุ้มก่ออิฐในแนวตั้งแบบพุกาม ลวดลายปูนปั้นที่ประดับบนกรอบซุ้มหลุดร่วงไป หมดแล้ว แต่ที่เสารับกรอบซุ้มและเสาที่มุมยกเก็จเรือนธาตุประดับด้วยลายบัวคอเสื้อและบัวเชิงล่าง มีลักษณะคล้ายกับลายที่ซุ้มประตูโขง ส่วนที่มุมประธานของเรือนธาตุมีประติมากรรมปูนปั้นรูปเทวดา ซึ่งชำรุดมาก จนไม่สามารถทราบได้ว่ามีลักษณะท่าทางและการตกแต่งอย่างไร เหนือเรือนธาตุเป็นลักษณะของหลังคาเอนลาด ซ้อนลดหลั่นกัน 2 ชั้น รองรับชั้นลด ที่จำลองรูปแบบของเรือนธาตุ ซึ่งกรมศิลปากรได้บูรณะซ่อมแซมจนถึงยอดเมื่อปีงบประมาณ 2517- 2520 กู่เป็นลักษณะของอาคารขนาดยอมที่นิยมสร้างขึ้นภายในวิหารหรืออุโบสถ เพื่อ ประดิษฐานพระพุทธรูปหรือพระบรมสารีริกธาตุ เช่น กู่ประดิษฐานพระบรมธาตุภายในวิหารวัดพระ ธาตุศรีจอมทองที่สร้างขึ้นในสมัยพระเมืองแก้วเช่นกัน แต่คู่พระแก่นจันทน์แดงนี้สร้างอยู่ภายในพระ อุโบสถ เพราะพบเสมาหินทราย 8 เหลี่ยมอยู่รอบลานประทักษิณ พระอุโบสถหลังเดิมนี้เหลือเพียง ฐานบัวลูกแก้วอกไก่ยกเก็จตามการลดระดับของหลังคา ด้านหน้า 3 ด้านหลัง 2 ตามแบบวิหาร ล้านนาโดยทั่ว ๆ ไป ปัจจุบันมีพระอุโบสถขนาดเล็กสร้างอยู่บนฐานพระอุโบสถเดิมทางด้านตะวันออก ของกู่พระแก่นจันทน์แดง พระอุโบสถหลังเดิมนี้พระเมืองแก้วโปรดให้สร้างขึ้นในที่ ๆ ทรงถวายพระเพลิงพระ บรมศพพระราชธิดาของพระองค์และกู่พระแก่นจันทน์แดงคงจะเป็นปราสาทหอคำ ที่พระเมืองแก้ว โปรดให้อัญเชิญพระกัมโพชปฏิมามาประดิษฐานไว้ และต่อมาทรงอัญเชิญพระพุทธรูปแก่นจันทน์ มา ประดิษฐานไว้ในพระอุโบสถด้วย สำหรับลวดลายปูนปั้นได้รับการอนุรักษ์โดยฝ่ายอนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนังและ ประติมากรรมติดที่กองโบราณคดี เมื่อ พ.ศ. 2535
ซุ้มประตูโขง ซุ้มประตูโขงอยู่ทางทิศตะวันออกของวัดเจ็ดยอด เป็นทางเข้าออกหลักของวัดมา แต่เดิม นักวิชาการส่วนใหญ่เข้าใจว่าเป็นซุ้มประตูที่สร้างในสมัยพญาติโลกราชตามตำนานวัดมหาโพ ธาราม (วัดเจ็ดยอด) ที่กล่าวว่าสร้างขึ้นในปีเดียวกับปีที่สร้างวัด คือ พ.ศ. 1998 แต่ลวดลายที่ประดับ โดยเฉพาะกาบบนและกาบล่าง มีลักษณะเหมือนกับลายที่กู่พระแก่นจันทน์แดง ฉะนั้นซุ้มประตูโขงนี้ อาจจะสร้างในสมัยพระเมืองแก้ว ซุ้มประตูโขงเป็นลักษณะประตูทางเข้าศาสนสถานแบบล้านนา ที่ประกอบไปด้วย ผนังทั้งสองด้านก่อตรงขึ้นจากพื้นแล้วโค้งให้มาบรรจบกันเป็นรูปซุ้มโค้ง ส่วนบนของซุ้มทำเป็นชั้น ลดหลั่นกันขึ้นไปตรงตามความหมายของคำว่าปราสาท ซึ่งหมายถึงการทำรูปสัญลักษณ์ของอาคาร หลายชั้นซ้อนกัน ซุ้มประตูโขงที่วัดเจ็ดยอด ก่อนที่กรมศิลปากรทำการบูรณะเมื่อปีงบประมาณ 2517-2520 อยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรม ส่วนบนที่เป็นซุ้มโค้งพังทลายไปหมดเหลือแต่ผนังสองด้าน ของซุ้มประตู ต่อมาในการบูรณะปีงบประมาณ 2527 กรมศิลปากรได้บูรณะโดยทำการยกผนังของ ซุ้มประตูทางด้านทิศใต้ที่ทรุดเอียงให้ตั้งตรงแบบเดิม และเสริมความมั่นคงบริเวณฐาน ใน พ.ศ.2530 ทางวัดได้ดำเนินการก่อกำแพงศิลาแลงกั้นเขตวัดออกจากเขตพื้นที่ ของกรมทางหลวงแทนรั้วไม้ การก่อกำแพงด้านทิศตะวันออกขนาบข้างซุ้มประตูโขงครั้งนี้ได้ทำให้ ลายปูนปั้นบางส่วนหลุดร่วงลงไป อย่างไรก็ตาม ยังคงมีลายปูนปั้นประดับซุ้มประตูโขงให้ศึกษาได้ คือ ส่วนของกรอบ ซุ้มที่อยู่ด้านข้างของผนังด้านทิศเหนือและทิศใต้ ทำเป็นลวดลายพันธุ์พฤกษาเกี่ยวพันกันเป็นเครือเถา เลื้อยต่อเนื่องกันไปตามความโค้งของกรอบซุ้ม กึ่งกลางทำเป็นลายพันธุ์พฤกษาอยู่ภายในกรอบรูป สี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ส่วนปลายกรอบซุ้มมีลายกระหนกประกอบกันอยู่ในกรอบรูปตัวเหงา ทำ เสมือนเป็นส่วนของหางหงส์ที่ยืนหันหน้าเข้าด้านในของซุ้ม สำหรับเสารับกรอบซุ้มและเสาประดับมุม ทำลวดลายบัวคอเสื้อ และบัวเชิงล่าง ซึ่งมีลักษณะคล่ายกับบายที่กู่พระแก่นจันทน์แดง ลวดลายปูนปั้นที่ประดับซุ้มประตูโขงนี้ได้รับการอนุรักษ์ จากฝ่ายอนุรักษ์จิตรกรรม และประติมากรรมติดที่กองโบราณคดีเมื่อ พ.ศ.2535
กู่แก้ว กู่แก้วอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของวิหารเจ็ดยอด เยื้องมณฑปมุจลินท์ไปทาง ตะวันออกเล็กน้อย ปัจจุบันอยู่นอกกำแพงวัดในเขตของกรมทางหลวง เจดีย์องค์นี้ไม่พบประวัติการ สร้างจากเอกสารตำนาน แต่เคยเชื่อกันว่าเป็นเจดีย์บรรจุอัฐิพระเมืองเกศเกล้าบ้าง เป็นราชายตนบ้าง แต่จากตำแหน่งที่ตั้งอยู่ กู่แก้วไม่น่าจะเป็นหนึ่งในสัตตมหาสถาน กรมศิลปากรได้ทำการขุดแต่งและบูรณะเมื่อปีงบประมาณ 2517 – 2520 สภาพ ก่อนการขุดแต่งมีต้นหญ้าขึ้นปกคลุม และมีอิฐหัก เศษดินทับถมอยู่ หลังจากถากถางและขุดลอกดิน แล้ว ได้ทำการบูรณะซ่อมแซมตามลักษณะทรวดทรงเดิม ต่อมาใน พ.ศ. 2535 กรมทางหลวงกำหนดจะขยายช่องทางเดินรถของถนนซุปเปอร์ ไฮเวย์ที่อยู่ทางด้านใต้ของวัดจาก 2 ช่องทาง เป็น 4 ช่องทาง ทำให้แนวถนนที่จะสร้างใหม่เฉียดเข้า มาใกล้ขอบเนินดินที่ปกคลุมส่วนฐานล่างของกู่แก้ว ซึ่งปัจจุบันกลายเป็นโบราณสถานอยู่ห่างจากก ถนน เพียง 2.10 เมตร การขยายถนนออกมาในบริเวณนี้จะทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือนเมื่อยานพาหนะ แล่นผ่านจนทำความเสียหายให้กับเจดีย์ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นครั้งนี้ได้มีนักวิชาการ นักศึกษา ประชาชน และกลุ่มอนุรักษ์ต่าง ๆ ออกมาคัดค้าน กรมศิลปากร โดยหน่วยศิลปากรที่ 4 จึงได้ดำเนินการขุดค้นเพื่อหาหลักฐานทาง โบราณคดี และบูรณะเสริมความมั่นคงเพื่อรองรับอัตราการสั่นสะเทือนของพื้นดินที่จะมีอันตรายต่อ กู่แก้ว ในปีพ.ศ. 2536 ลักษณะของกู่แก้วภายหลังการขุดแต่งบูรณะ เป็นเจดีย์ทรงปราสาทในผังสี่เหลี่ยม จัตุรัส อยู่บนลานประทักษิณ องค์เจดีย์ประกอบด้วยฐานเขียงยกมุมซ้อนลดหลั่นกัน 2 ชั้น ฐานชั้น แรกมีการก่ออิฐลักษณะคล้ายซุ้มพระประจำอยู่ทั้ง 4 ด้าน ด้านทิศตะวันออกทำยื่นออกมามากกว่า ด้านอื่น เหนือฐานเขียงชั้นที่สองเป็นฐานบัวลูกแก้วอกไก่ยกเก็จ รองรับเรือนธาตุที่เหลือแต่ส่วนล่าง ซึ่งมีซุ้มพระพุทธรูปอยู่ทางทิศตะวันออก อีกสามด้านทำคล้ายประตูหลอกในศิลปะแบบเขมร ภายใต้ฐานชั้นล่างพบคานที่ทำเหมือนทแยงมุมรองรับอยู่ใต้ฐานเจดีย์ และพบฐานวิหารทาง ด้านตะวันออกของเจดีย์ ซึ่งปัจจุบันถูกกลบไปหมดแล้ว