background

วัดกู่เต้า (วัดเวฬุวนารามวิหาร)

ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม

ประวัติความเป็นมา

วัดเวฬุวนารามหรือวัดกู่เต้า เมื่อพิจารณาจากความหมายของชื่อวัดนั้น คำว่า “เวฬุวันวิหาร” แปลความหมายได้ว่า วิหารอยู่ในป่าไม้ไผ่ ซึ่งในอดีตประมาณปี พ.ศ. 2460 วัดนี้อยู่ในป่าไม้ไผ่จริง ๆ แต่ปัจจุบันไม่มีแล้ว สำหรับชื่อกู่เต้านั้นเป็นภาษาไทยยวน คำว่า “กู่” แปลว่าที่บรรจุอัฐิ หรือเถ้าถ่านที่เผาศพ คำว่า “เต้า” แปลว่าผลแตงโม รวมความว่าเป็นที่บรรจุอัฐิหรือเถ้าถ่านที่เผาศพ

เรื่องราวของพระเจดีย์องค์นี้จากคำบอกเล่าของคนสูงอายุกล่าวว่า ครั้งหนึ่งเมื่อพม่ายกทัพมาตีนครเชียงใหม่เข้าหักเอาเมืองไม่ได้ จึงทำพนันสร้างเจดีย์แข่งกัน ฝ่ายไหนทำเสร็จก่อนเป็นผู้ ชนะทางพม่าสร้างเจดีย์กู่เต้าทางเชียงใหม่ สร้างพระเจดีย์ใหญ่กลางใจเมือง แต่เชียงใหม่สร้างได้เพียง ฐานเจดีย์ ทางพม่าสร้างเสร็จกว่าครึ่งองค์แล้ว ฝ่ายเชียงใหม่จึงใช้อุบายสานเสื่อลำแพนหลายผืนทาสี ดินแดงคล้ายอิฐใช้ไม้ไผ่ลำยาวเอาโคนฝังดินทำเป็นรูปเจดีย์ แล้วเอาเสื่อล้อมติดโครงไม้ไผ่จนถึงยอด มองไกล ๆ คล้ายเจดีย์ใหญ่ เมื่อพม่าเห็นเข้าจึงนึกว่าแพก็เลิกทัพกลับไป เรื่องราวที่กล่าวนี้เป็นเพียง ตำนานที่บอกเล่า สืบต่อกันมา ซึ่งไม่สามารถระบุปีที่สร้างได้ แต่ตามลักษณะของเจดีย์ที่ปรากฏใน ปัจจุบันคงเป็นลักษณะที่เปลี่ยนแปลงในพุทธศตวรรษที่ 25 ลวดลายและการประดับตกแต่งเป็น ลักษณะของพม่า

ลักษณะทางสถาปัตยกรรมและศิลปกรรม ลักษณะเจดีย์นี้มีลักษณะตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมถัดขึ้นไปเป็นลักษณะคล้ายบาตรคว่ำ ซ้อนกันห้าชั้น จากใหญ่ไปหาเล็ก แต่ละชั้นจะมีซุ้มจระนำทั้ง 4 ด้าน ภายในซุ้มประดิษฐ์พระพุทธรูป 56 ปางต่าง ๆ องค์เจดีย์แต่ละชั้นประดับด้วยปูนปั้นประดับกระจกสีเป็นลายดอกไม้เล็ก ๆ ส่วนยอดเป็น ฉัตรอันเป็นสัญลักษณ์ของเจดีย์แบบพม่า (ภาพ 8) จากลักษณะของเจดีย์ที่เป็นลักษณะรูปบาตร 5 ใบ นั้นอาจหมายถึงพระพุทธเจ้า 5 พระองค์ในศาสนาพุทธลักทธิมหายานคือ พระกกุสันโห พระโกนา คม พระสมุนะโคดม พระกัสสปะ พระศรีอาริยเมตรไตร ซึ่งจะมาตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าต่อไป ในกาลข้างหน้า


แกลเลอรี่ภาพ

ภาพ 360 องศา