
วัดควรค่าม้า
ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม
วัดควรค่าม้ามีประวัติความเป็นมาไม่แน่ชัด มีเพียงแค่พระพุทธรูปสำริดภายใน วิหารที่มีจารึกสร้างในปีพ.ศ. 2043 ส่วนการอุทิศที่ดินในการสร้างวัด ตามคำบอกเล่าคนเฒ่าคนแก่ใน ชุมชนได้เล่าสืบต่อกันมาว่า วัดควรค่าม้า ในอดีตเคยเป็นสถานที่เลี้ยงม้า ซึ่งใช้เป็นพาหนะค้าขาย (ม้า ต่าง) ต่อมาม้าของแกได้ล้มตายลง มีความอาลัยและระลึกถึงพระคุณของม้า จึงได้อุทิศที่แปลงนี้ให้ เป็นวัด สมกับคุณค่าม้า อันเป็นชื่อที่เรียกกันสามัญว่า “วัดควรค่าม้า”
ลักษณะทางสถาปัตยกรรมและศิลปกรรม ศิลปกรรมสำคัญของวัดควรค่าม้า คือ พระพุทธสำริดปางมารวิชัย ขัดสมาธิราบ พ.ศ. 2043 ขนาดความสูง 47 นิ้ว ประดิษฐานภายในวิหารวัดควรค่าม้า พุทธลักษณะพระพักตร์กลม รีพระขนงโก่งต่อกัน พระนาสิกแหลม พระเนตรหรี่ลงครึ่งหนึ่ง ทอดลงต่ำ แย้มพระโอษฐ์เล็กน้อย ส่วนพระศกเป็นก้นหอยไม่เล็กไม่ใหญ่ อุษณีษะคลึ่งวงกลม รองรับรัศมีเปลวเพลิง (อาจมิใช่ของเดิม) พระกรรณยาวเหนือพระศอ มีเส้นปล้องพระศอสามเส้น พระวรกายยืดสูง ครองจีวรห่มเฉียงเหนือ พระอังสาขวา พระอังสานั้นค่อนข้างกว้าง ชายสังฆาฏิเป็นเขี้ยวตะขาบทอดยาวถึงพระนาภี นิ้วพระ หัตถ์เรียวเสมอกัน ปลายนิ้วพระหัตถ์งอน ประทับขัดสมาธิราบ และพระบาทเรียบ มีเลข จารึกบอกปีที่สร้างไว้ใต้ฐานพระพุทธรูป “862” หมายถึง จุลศักราช 862 พ.ศ. 2043