background

วัดโลกโมฬ

ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

ประวัติความเป็นมา

วัดโลกโมฬี สร้างขึ้นในสมัยของพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์มังรายพระองค์ใดนั้นยังไม่พบหลักฐานโดยแน่ชัด แต่จากหลักฐานที่ค้นพบและได้กล่าวถึงวัดโลกโมฬีพอรวบรวมได้ ดังนี้

ตำนานวัดพระธาตุดอยสุเทพ บันทึกไว้ว่า ปี พ.ศ. 1910 ในสมัย พญากือนาธรรมิกราช กษัตริย์ในราชวงศ์มังราย ลำดับที่ 6 เสวยราชสมบัติในเมืองเชียงใหม่พระองค์ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา จึงให้ราชทูตไปอาราธนาพระมหาสวามีเจ้าซึ่งอยู่ที่เมืองพัน แต่พระ มหาสวามีเจ้ารับนิมนต์ไม่ได้ จึงให้ภิกษุลูกศิษย์ 10 รูป มีพระอานนท์เถรเป็นประธานมาสู่เมืองเชียงใหม่แทนพญากือนา ก็ให้พระเถระเจ้าทั้งหลายพำวนักอยู่ ณ วัดโลกโมฬี กำแพงเวียงชั้นนอก บ้านหัวเวียง

จากหลักฐานที่ปรากฏนี้พอจะอนุมานได้ว่า วัดโลกโมฬีน่าจะสร้างขึ้นใน สมัยพญากือนา ประมาณปี พ.ศ. 1910 หรือก่อนหน้านั้น ต่อมา ในปี พ.ศ. 2070 ในสมัยของพระเมืองเกศเกล้า กษัตริย์ราชวงศ์มังรายลำดับที่ 12 มีหลักฐานบันทึกไว้ว่า พญาเกศได้ถวายบ้านหัวเวียงให้เป็นอารามวัดโลกโมฬี

พ.ศ. 2071 พญาเกศเมื่อได้บูรณะฟื้นฟูวัดโลกโมฬีและได้ทำบุญฉลองถวายให้เป็นอารามวัดโลกโมฬีแล้ว ได้ทรงสร้างพระเจดีย์ขนาดองค์ใหญ่ขึ้น (มหาเจดีย์) พร้อมกันนั้นได้สร้างพระวิหาร เพื่อใช้ประกอบพิธีบำเพ็ญศาสนกิจของพุทธศาสนิกชน เมื่อพระองค์เสด็จสวรรคตโดยการถูกขุนนางลอบปลงพระชนม์ในปี พ.ศ. 2088 ข้าราชการขุนนางได้กระทำพิธีปลงศพที่วัดแสนพอก กำแพงเมืองชั้นใน หลังจากได้ถวายพระเพลิงแล้ว ก็ได้นำพระอัฐิของพระองค์มาบรรจุไว้ ณ วัด โลกโมฬี

พ.ศ. 2088 หลักจากที่พญาเกศ ได้สวรรคตแล้ว พระนางจิระประภา ราชธิดาของพญาเกศ ได้ขึ้นครองราชย์ต่อจากพระราชบิดาเป็นกษัตริย์ในราชวงศ์มังรายลำดับที่ 15 ประวัติศาสตร์ได้บันทึกไว้ว่า ครั้งนั้นเมืองเชียงใหม่มีเหตุการณ์ไม่สงบ เนื่องจากขุนนางทั้งหลายไม่สามัคคีกัน สมเด็จพระไชยราชาธิราช กษัตริย์อยุธยาได้ยกทัพขึ้นมาหมายจะตีเมืองเชียงใหม่ พระนางจิระประภาได้แต่งเครื่องราชบรรณาการออกไปถวายและทูลเชิญเสด็จพระไชยราชาธิราช ได้นำเสด็จมาทำบุญที่กู่เฝ่า พระเมืองเกศเกล้า ที่วัดโลกโมฬี สมเด็จพระไชยราชาธิราชได้พระราชทานทรัพย์ทำบุญไว้กับกู่พญาเกศเกล้าอีก 5,000 เงิน กับผ้าทรง 1 ผืน

พ.ศ. 2440 ในสมัยของพระเจ้าอินทวิชยานนท์ และสมัยของเจ้าอินทวโรรส เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ลำดับที่ 7 และ 8 มีบันทึกไว้ว่า “วัดโลกโมฬี ตั้งอยู่แขวงบ้านทับม่านขึ้นกับแคว้นเจ็ดยอด เจ้าอธิการชื่อ ตุ๊พวง นิกายเชียงใหม่ ยังไม่ได้เป็นอุปัชฌาย์ รองอธิการชื่อ ตุ๊คำ และในปี พ.ศ. 2452-2482 พลตรีเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ลำดับที่ 9 ได้บูรณะวัดโลกโมฬี เหนือเวียงและสร้างพระพุทธรูปพร้อมทั้งธรรมาสน์

หลังจากนั้นก็ไม่ปรากฏหลักฐานใด ๆ ที่จะบอกถึงความเป็นวัดที่มีพระสงฆ์อยู่จำพรรษาต่อเนื่องมาอีกนับตั้งแต่เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ประมาณปี พ.ศ. 2484 วัดโลกโมฬี ก็ตกอยู่ในสภาพเป็นวัดที่ว่างเว้นจากผู้ปกครองสงฆ์นาน 60 ปี ที่ดินของวัดในอดีตก่อนหน้านั้นมีเนื้อที่กว้างขวางหลายสิบไร่ ได้ถูกถือครองโดยเอกชนและต่อมามีการออกโฉนดเป็นกรรมสิทธิ์ของเอกชนหลายแห่ง จึงเหลือเนื้อที่ตามที่ปรากฏ ในหลักฐานขึ้นทะเบียนเป็นวัดร้าง ในความดูแลของกรมศาสนาจำนวนเนื้อที่ 4-1-37 ไร่

ปีพ.ศ. 2544 พระญาณสมโพธิ ปัจจุบันได้เลื่อนตำแหน่งเป็น พระเทพวร สิทธาจารย์ เจ้าอาวาสวัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร รองเจ้าคณะภาค 7 ได้พิจารณาสถานที่วัด ร้างแห่งนี้ และได้ริเริ่มเข้ามาบูรณะและฟื้นฟูให้เป็นวัดที่มีพระสงฆ์จำพรรษา นับตั้งแต่วันที่ 12 เมษายน 2548 เป็นต้นมา57 (ยุพิน เข็มมุกต์, 2548: 1-5)

ลักษณะทางสถาปัตยกรรมและศิลปกรรม หลักฐานเดิมของเจดีย์ทรงปราสาทขนาดใหญ่เพียงองค์เดียว ส่วนฐานหน้ากระดาน 3 ชั้น ขนาดความกว้าง 20 x 20 เมตร รับชุดฐานเขียงสี่เหลี่ยมสี่ชั้นซ้อนลดหลั่น รองรับฐานบัวลูกแก้วขนาดใหญ่ ท้องไม้หน้ากระดานสี่เหลี่ยมคาดด้วยลูกแก้วอกไก่ 2 ชั้น รองรับส่วนเรือนธาตุ ซึ่งมีการยกเก็จขนาดใหญ่ทั้งสี่ด้าน มีซุ้มจระนำประดิษฐานพระพุทธรูปประดับลวดลายปูนปั้น พันธุ์พฤษาบริเวณกรอบหน้านางและตัวเหงา ส่วนซุ้มลดเป็นลายมกรคายนาคที่ปลายกรอบซุ้ม รูปเทวดาประดับที่มุมยกเก็จ เหนือขึ้นไปเป็นส่วนเรือนธาตุเดิมชำรุดเสียหายภายหลังมีการบูรณะโดย  ยุพิน เข็มมุกต์, วัดโลกโมฬี, พิมพ์ครั้งที่ 2, (เชียงใหม่: ส.ทรัพย์การพิมพ์, 2548)


แกลเลอรี่ภาพ

ภาพ 360 องศา