
วัดหม้อคำตวง
ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
สร้างเมื่อประมาณ พ.ศ. 2019 เดิมชื่อวัดหมื่นตวงคำหรือหมื่นคำตวง เพราะผู้สร้างวัดมีฐานันดรศักดิ์ “ยศหมื่น” มีหน้าที่ตีทองหลอมทอง ถวายผู้ปกครองเมืองในสมัยนั้น ต่อมาชื่อของวัดได้เปลี่ยนแปลงไปกลายมาเป็นชื่อวัดหม้อคำตวงจนถึงปัจจุบัน ความหมายของคำว่า “หม้อคำตวง” หมายถึง หม้อทองคำสำหรับตวงเงินตวงทองนั่นเอง อาคารต่าง ๆ ที่อยู่ในวัดนี้ได้รับการบูรณะ เป็นศิลปะแบบใหม่ทั้งหมด
ลักษณะทางสถาปัตยกรรมและศิลปกรรม วัดหม้อคำตวง หรือเดิมเรียก “วัดหมื่นคำตวง” มีเจดีย์ทรงระฆังแบบล้านนา มีอายุสมัยราวครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ 21 โดยเจดีย์องค์เดิมก่อการบูรณะปฏิสังขรณ์นั้น มีรูปแบบเป็นเจดีย์ทรงระฆัง ฐานทำเป็นบัวสี่เหลี่ยมยกเก็จในผังสิบสองเหลี่ยม ต่อเนื่องขึ้นไปด้วยชุดบัวถลาสิบสอง เหลี่ยมรับกับฐาน รองรับองค์ระฆังขนาดเล็ก บัลลังก์ยกเก็จ เหนือขั้นไปเป็นก้านฉัตร ในส่วนของฉัตร นั้นมีการบุดนลวดลายแผ่นทองจังโกหุ้มไว้โดยรอบ ยอดทรงกรวยประกอบจากปล้องไฉนและปียอด มีฉัตรขนาดเล็กประดับไว้เหนือสุด (ภาพ 12 และ 13) รูปแบบของเจดีย์วัดหมื่นคำตวงมีความ ใกล้เคียงกับเจดีย์วัดพระธาตุดอยสุเทพ วัดชมพู วัดดวงดี และวัดเชษฐา อำเภอเมืองเชียงใหม