background

วัดป่าเป้า

ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

ประวัติความเป็นมา

วัดป่าเป้าเป็นวัดที่ชาวเงี้ยวหรือไทยใหญ่ซึ่งเข้ามาเป็นพลเมืองกลุ่มใหม่ของเมืองเชียงใหม่ ได้สร้างขึ้นใน พ.ศ 2426 โดยสร้างขึ้นในบริเวณที่มีต้นไม้ชนิดหนึ่งที่ชื่อว่า ต้นเป้า จึงได้ชื่อ ว่าวัดป่าเป้า นับเป็นวัดของชาวเงี้ยวแห่งแรกในเมืองเชียงใหม่ ดังนั้นภายในวัดจึงมีวิหารและเจดีย์ที่ เป็นศิลปะแบบพม่า ซึ่งนับเป็นตัวอย่างของการปรากฎขึ้นของศิลปะแบบพม่าในเมืองเชียงใหม่ได้เป็น อย่างดี โบราณสถานที่ปรากฏประกอบด้วย พระเจดีย์ ซึ่งเป็นเจดีย์ในศิลปะแบบพม่า ประกอบด้วย เจดีย์ประธานและมีเจดีย์รายเล็กๆสี่องค์เรียงรายอยู่ทางด้านทิศตะวันออก คาดว่าคงจะสร้างขึ้น พร้อมกับการสร้างวัดในช่วงครึ่งแรกของพุทธศตวรรษที่ 25

ลักษณะทางสถาปัตยกรรมและศิลปกรรม พระวิหารเป็นวิหารเครื่องไม้ที่สร้างด้วยไม้สักทั้งหลัง มีลักษณะรูปทรงตามแบบ สถาปัตยกรรมพม่า สร้างใน พ.ศ 2434 แต่ได้รับการซ่อมแซมเปลี่ยนแปลงไปแล้วเป็นอันมาก แต่ก็อรุณรัตน์ วิเชียรเขียว, สุรพล ดำริห์กุล, วัดร้างในเวียงเชียงใหม่ พิมพ์ครั้งที่ 2, (เชียงใหม่: สุริวงศ์บุ๊คเซนเตอร์, 2539), หน้า 87. 61 นับเป็นวิหารเครื่องไม้ในศิลปะแบบพม่าเพียงแห่งเดียวที่มีอยู่ในเมืองเชียงใหม่ นอกจากนี้ยังปรากฏมี พระอุโบสถที่สร้างขึ้นใน พ.ศ 2449

ลักษณะเป็นอาคารก่ออิฐถือปูน มีรูปทรงทางสถาปัตยกรรมใน ศิลปะแบบพม่า ซุ้มหน้าต่างอุโบสถ เป็นซุ้มครึ่งวงกลมประกอบลวดลายเครือเถาศิลปะพม่าที่อาจ กล่าวได้ว่างดงามยิ่ง หลังคาอุโบสถ ส่วนยอดยกสูง 3 ชั้น ป้านลมเป็นไม้แกะสลักลวดลายละเอียด สวยงามมากตามศิลปะพม่า แต่ละชั้นไม่เหมือนกันเพราะสร้างตามความเชื่อที่ว่าเป็นศูนย์กลางของจักรวาล

ชั้นบนสุดคือชั้นสรวงสวรรค์ ชั้นถัดลงมาเป็นชั้นของมนุษย์ ชั้น ถัดลงมาคือชั้นของสัตว์ ที่ น่าสนใจประการหนึ่งคือ ส่วนของจั่วของหลังคาทุกชิ้น ยังเป็นการแกะสลักไม้ด้วยเรื่องราวใน วรรณคดี นอกจากนี้ มุมด้านหนึ่งของหลังคาอุโบสถชั้นล่างสุดยังประดับด้วยไม้แกะสลัก เรื่องราวในวรรณคดีที่ฝีมือการแกะสลักละเอียดสวยงามมาก แต่มีอยู่ด้านเดียวเหตุเพราะยังสร้างไม่ เสร็จ และมีเชิงชายทำจากไม้แกะสลักลายพรรณพฤกษาที่ละเอียดสวยงาม เช่นกัน


ภาพ 360 องศา