
วัดพันเตา
ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
จากประวัติวัดพันเตาในหนังสือประชุมตำนานลานนาไทย เล่ม 1 โดยสงวน โชติสุข รัตน์ กล่าวว่า “………..จ.ศ.1237 (พ.ศ.2418) ปีกุน สัปตศก วันพุธเพ็ญเดือน 8 เจ้าอินทวิไชยานนท์ เจ้านครเชียงใหม่ฉลองวิหารวัดข่วงสิงห์เหนือเวียงเชียงใหม่ วันเสาร์เดือน 10 ขึ้น 8 ค่ำ ปก (ปก – ยก เสา) วิหารวัดพันเตากลางเวียงเชียงใหม่ที่เจ้าอินทวิไชยานนท์หื้อ (หื้อ – ให้) รื้อเอาหอคำ (หอคำ – วัง หรือท้องพระโรงหน้าของเจ้านครเชียงใหม่เช่นเดียวกับ วังหรือท้องพระโรงของเจ้านายทางภาคกลาง) ของพระเจ้ามโหตรประเทศไปสร้าง …..จ.ศ.1248 (พ.ศ. 2429) ปีจอ อัฐศก วันอาทิตย์เพ็ญเดือน 7 พระเจ้าชีวิตวิไชยานนท์ทำบุญฉลองวิหารวัดเจดีย์หลวงแห่งหนึ่ง ฉลองวิหารวัดพันเตากลางเวียงที่รื้อ เอาหอคำของพระเจ้าชีวิตมโหตรประเทศมาสร้างแห่งหนึ่ง วิหารวัดสบขมิ้นแห่งหนึ่ง วิหารหอธรรม แห่งหนึ่ง สองแห่งนี้ศรัทธาเขาสร้างต่างหาก มาฉลองพร้อมกันเป็นคราวเดียวกัน”
ประวัติวัดพันเตาเท่าที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นนั้นเป็นการข้นคว้าจากเอกสาร แต่มี รายละเอียดปลีกย่อยบางประการที่น่าสนใจเกี่ยวกับตำนานของวัดพันเตานี้ จากคำบอกเล่าของเจ้าคณะอำเภอ คือพระครูศรีปริยัติยานุรักษ์ เจ้าอาวาสวัดพันอ้น ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัด เชียงใหม่ ในขณะนั้น (พ.ศ. 2526) ได้เล่าถึงประวัติดั้งเดิมของวัดพันเตาว่ามีอายุเก่าแก่ร่วมสมัยกับวัดเจดีย์หลวง ซึ่งจากประวัติวัดเจดีย์หลวง ในรัชสมัยของพระเจ้าเมืองแก้ว ซึ่งทรงเป็นปนัดดา (เหลน) ของพระเจ้าติโลกราช ทรงครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 2038 – 2068 ได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดเจดีย์หลวงอย่างขนานใหญ่อีกครั้ง โปรดให้ช่างหล่อพระอัฏฐารสยืนสูง 18 ศอก ไว้เป็นพระประธานประจำ พระอาราม ท่านพระครูศรีปริยัตินุรักษ์ยังได้เล่าเพิ่มเติมอีกว่า พระประธานของวิหารวัดพันเตานี้สร้าง ขึ้นพร้อมกับวิหารนั่นเอง
วัดพันเตาตั้งอยู่ใกล้สี่แยกกลางเวียง เชียงใหม่ ซึ่งมีประวัติความเป็นมาเกี่ยวข้องกับ ประวัติศาสตร์และตำนานของเมืองเชียงใหม่เป็นอย่างมาก บริเวณสี่แยกกลางเวียงเชียงใหม่นี้แต่แรก สร้างเมืองเชียงใหม่ขึ้นนั้น ไม่ได้กำหนดว่าให้บริเวณนี้เป็นศูนย์กลางหรือมีการสร้างโบราณสถาน สำคัญขึ้นเป็นหลักของเมืองแต่อย่างใดแต่บังเอิญเป็นตำแหน่งที่อยู่ใกล้กับศูนย์กลางของเมืองพอดี สี่แยกกลางเวียงนี้มีประวัติความเป็นมาตามตำนานว่า “…..พระเจ้าเม็งรายครองเมืองเชียงใหม่ ต่อมา จนกระทั้ง พ.ศ.1860 ทรงพระชนมายุได้ 79 พรรษา วันหนึ่งเสด็จไปประพาสที่ตลาดกลางเวียงเกิดอัสนีบาตรตกต้องพระองค์สวรรคตในท่ามกลางเมืองนั้น (ที่ที่พระองค์ต้องสนิบาตสวรรคตนั้นที่กลาง เวียงเชียงใหม่ ถนนพระสิงห์)
ลักษณะทางสถาปัตยกรรมและศิลปกรรม วิหารวัดพันเตาเดิมคือ หอคำของพระเจ้ามโหตรประเทศ (เจ้าครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 5) ที่พระเจ้าอินทวิชยานนท์ (เจ้าครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 7) อุทิศถวายวัดให้สร้างเป็นวิหาร เมื่อปี พ.ศ. 2419 หอคำหลังนี้เป็นคุ้มหรือท้องพระโรงหน้าของพระเจ้าเชียงใหม่ เช่นเดียวกับวังหรือท้องพระโรงของเจ้านายทางภาคกลาง หอคำหรือวิหารหลังนี้เป็นเรือนโบราณชั้นดีของภาคเหนือ ที่ ยังคงรักษาเอกลักษณ์ของภาคเหนือไว้ได้มากที่สุดและค่อนข้างสมบูรณ์ ถึงแม้ว่าจะได้รับการบูรณะ ซ่อมแซมครั้งใหญ่ไปแล้ว แต่ก็มิได้เป็นการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางสถาปัตยกรรมให้แตกต่างไปจาก การสร้างครั้งแรกส่วนฐานและผนังด้านหลัง ซึ่งถูกฝนทำลายจนหลุดพังเสียงหายประกอบกับเกิดน้ำท่วมเนื่องจากฝนตกหนัง ส่วนของผนังด้านหลังเสียหายมาก เศษไม้ที่หลุดหล่นลงมาจมน้ำบางส่วนก็ ถูกน้ำพัดไป จึงได้มีการซ่อมผนังด้านหลังโดยทำผนังคอนกรีตระหว่างช่วงเสาตรงกึ่งกลางผนัง สำหรับฐานเดิมของวิหารที่เป็นเสาไม้ซึ่งมีการผุกร่อนมาก่อน ทางวัดได้ทำการเสริมฐานเสาเดิมด้วยคอนกรีต และทำการก่ออิฐโบกปูนเสริมระหว่างเสาจากบริเวณร่องตีนช้าง (ซึ่งหายไป) ลงมาจนถึงพื้นและทำพื้นซีเมนต์ปูกระเบื้องเคลือบ (ราว 10 กว่าปีมาแล้ว ประมาณก่อน พ.ศ.2518) ทำการซ่อมหลังคา และเปลี่ยนกระเบื้องมุงหลังคา
โครงสร้างสถาปัตยกรรมของวิหารวัดพันเตา ตัวอาคาร ใช้ไม้เป็นวัสดุหลักมีโครงสร้างแบบกรอบยึดมุมมาก เสาและฝาทุกส่วน เป็นไม้โดยเฉพาะฝามีแบบวิธีการสร้างพิเศษคล้ายกับฝาปะกนของฝาไม้สมัยอยุธยา แต่มีขนาดตัวไม้ที่ แน่นหนามั่นคงกว่า คือ เป็นกรอบไม้ยึดยันรูปสี่เหลี่ยม อัดช่องภายในด้วยแผ่นไม้ลูกฟัก สัดส่วนใหญ่ หนากว่าฝาปะกน การทำฝาแบบทางเหนือนี้ ใช้ตัวไม้โครงเป็นช่องตารางยึดติดกับช่วงโครงสร้างก่อน แล้วจึงบรรจุแผ่นลูกฟัก ภายหลังฝาแบบนี้แข็งแรงและมั่นคงเพราะต้องทำหน้าที่เป็นตัวรับน้ำหนัก
ของส่วนบนอาคารด้วย การทำฝาผนังของวิหารวัดพันเตาก็เป็นลักษณะนี้ โดยเฉพาะวิหารนี้ฝาผนัง ด้านข้างจะยาวตลอดเป็นแนวเดียวกัน ไม่มีการย่อมุมซึ่งเป็นที่นิยมมากทางภาคเหนือ คือ การยกเก็จ หรือ ย่อมุมตรงมุขหน้าวิหารทั้ง ๆ ที่เป็นวิหารขนาดใหญ่มาก การสร้างวิหารนี้ช่างทางเหนือสามารถ แก้ปัญหาที่ความรู้ลึกหนักทึบของฝาผนังด้านข้างที่มีขนาดใหญ่มาก ๆ นี้ได้ โดยอาศัยการแบ่งพื้นที่ ของผนังด้วยกรอบไม้ยึดยันรูปสี่เหลี่ยมดังที่กล่าวมาแล้ว พร้อมกันนั้นก็ใช้ประโยชน์จากฝาผนังแบบนี้ ให้เป็นตัวช่วยรับน้ำหนักจากหลังคาที่มีขนาดใหญ่ตามขนาดวิหาร
ส่วนประดับตัวอาคาร ประตู มีประตูทางเข้าทั้งหมด 3 ทาง คือ ประตูใหญ่ทางด้านหน้า ประตูด้านข้าง ทางด้านทิศเหนือ อยู่ค่อนมาทางประตูหน้า ทางทิศใต้อยู่ค่อนไปทางด้านหลัง ประตูที่สำคัญคือระตู ด้านหน้าซึ่งประกอบด้วยซุ้มประตูไม้แกะสลักประดับกระจก เป็นรูปสัตว์ต่าง ๆ ได้แก่ นกยูง นาค ลิง หงส์ ประกอบลวดลายที่กรอบประตูส่วนบนเป็นโก่งคิ้วไม้แกะสลักลายดอกไม้ใบไม้ บานประตูเป็นไม้ แผ่นเรียบ หน้าต่าง ทางด้านหน้าวิหาร หน้าต่าง่จะเป็นซุ้มไม้แกะสลักแบบทางเหนือที่หน้าบัน ของซุ้มหน้าต่างแกะสลักเป็นลวดลายใบไม้ดอกไม้อยู่ระหว่างซุ้ม 2 ชั้น และภายในซุ้มชั้นในสลักเป็น รูปสัตว์คล้ายสุนัข เหมือนกับตัวสัตว์ที่อยู่ใต้นกยูงในซุ้มประตูใหญ่ เข้าใจว่าจะหมายถึงปีที่สร้างวิหาร คือ ปีจอ (การสลักรูปสัตว์ตามปีที่สร้างนี้นิยมทำกันในภาคเหนือ) สำหรับหน้าต่างด้านอื่น ๆ เป็น หน้าต่าง 2 ชั้น ชั้นนอกเป็นหน้าต่างลูกมะหวด ชั้นในเป็นหน้าต่างไม้แผ่นเรียบมีอกเลาที่ตกแต่งด้วย ลายสลัก คันทวย เป็นไม้แกะสลักลายกนก 3 ตัวแบบเชียงใหม่ พวกลายเมฆไหล แกะสลัก เป็นรูปตัวครุฑ 3 หัว เครื่องบน เนื่องจากวิหารวัดพันเตามีขนาดใหญ่ (ประมาณ 28-17 เมตร) ตัววิหาร แบ่งเป็น 7 ห้อง (แปดช่วงเสา) แต่ผนังยาวตลอดแนวเดียวกัน หลังคาจึงได้มีการลดชั้นเพื่อแก้ปัญหา ความรู้สึกที่กดทับ ซึ่งจะเกิดขึ้นถ้าทำหลังคาตลอดเพียงชั้นเดียว การลดชั้นหลังคา ลดลง 2 ชั้น ตรง ระหว่าง 3 ห้องริมสุด ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง เครื่องประดับหลังคาคล้ายกับทั่วไปคือ มีช่อฟ้า รวย ระกา หางหงส์ ที่เป็นเครื่องไม้แกะสลักประดับกระจก (หลุดไปเกือบหมดแล้ว) ที่สันหลังคาประดับ ด้วยหงส์โลหะสีเงิน
โครงสร้างภายในหลังคาวิหาร มีขื่อรองรับตุ๊กตาและขื่อลอยทำแบบลูกฟักของจั่ว ทางด้านหน้า เพียงแต่ไม่กรุไม้ลูกฟักเท่านั้น โครงหลังคาและกรุหน้าจั่วเช่นนี้ถือว่าเป็นมงคลทางภาค กลาง เรียกว่า “แบบภควัม” โครงสร้างภายในของวิหารจะเห็นความประณีตบรรจงของการเข้าไม้ มี การลดคิ้วเส้นบัวของลูกฟักและลดคิ้วของขื่อและเต้าอย่างสวยงาม บางแห่งจะพบฝีมือการแกะสลัก ไม้งดงามมาก เช่น ขื่อ อกเบาหน้าต่างเป็นต้น